เอฟเอพรีเมียร์ลีก


ประวัติ

          แต่เดิมฟุตบอลลีกแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง ซึ่งมีจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) และถือว่าเคยเป็นลีกฟุตบอลที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยในปี พ.ศ. 2535 ในฤดูกาล 1992-93 ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นจากรูเพิร์ธ เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) นักธุรกิจสื่อสารรายใหญ่เจ้าของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์สกาย (BSkyB) พยายามผลักดันให้สโมสรฟุตบอลที่จะลงแข่งขันในดิวิชันหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ถอนตัวออกมาจัดตั้งเป็นพรีเมียร์ลีกทำให้ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษที่มีอายุ 104 ปี ต้องยุติลง ขณะเดียวกันทางฟุตบอลลีกเดิมได้เปลี่ยนชื่อจาก ดิวิชันสอง มาเป็น ดิวิชันหนึ่ง และดิวิชันอื่นได้เปลี่ยนตามกันไป


ปัญหาเริ่มต้น

          ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่วงการฟุตบอลอาชีพของอังกฤษตกต่ำอย่างมาก เกิดเหตุการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าเรื่องของสนามกีฬาที่มีปัญหา เหตุการณ์อันธพาลลูกหนัง หรือที่เรียกว่าฮูลิแกน ทำลายภาพลักษณ์ของฟุตบอลอังกฤษ ไฟไหม้อัฒจันทร์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2528 ที่สนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลแบรดฟอร์ดซิตี ในระหว่างการแข่งขัน มีผู้เสียชีวิต 56 คน เหตุการณ์วันที่ 15 เมษายน 2532 ที่สนามฟุตบอลฮิลส์เบอโรของสโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ มีผู้คนเหยียบกันเสียชีวิตกว่า 96 คน นอกจากนี้โศกนาฏกรรมเฮย์เซลที่มีผู้เสียชีวิต 39 คน ทำให้ยูฟ่าสั่งห้ามไม่ให้สโมสรจากอังกฤษเข้าร่วมการแข่งขันชิง ถ้วยสโมสรในยุโรปเป็นเวลา 5 ปี อันธพาลลูกหนังที่ตามไปเชียร์ทีมที่ชื่นชอบ หลังจากการแข่งขันจะเกะกะระราน เข้าผับดื่มกินจนเมามาย บ้างก็วิวาทกับแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นเกิดเหตุการณ์วุ่นวายบางครั้งรุนแรงถึงขั้นจลาจลหรือไม่ก็มีคนเสียชีวิต โดยโศกนาฎกรรมเฮย์เซล์ส่วนหนึ่งมาจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน

          หลายเหตุการณ์ทำให้แฟนฟุตบอลไม่สามารถชมการแข่งขันได้อย่างสงบสุข เนื่องด้วยกลัวจะโดนลูกหลง ประกอบกับสภาพสนามที่ย่ำแย่ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการป้องกันเหตุฉุกเฉินอย่างดีพอ ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนตัดสินใจรับชมการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะเดินทางมาเชียร์ในสนามดังเช่นอดีต ช่วงทศวรรษ 1980 รายได้ของสโมสรจากค่าผ่านประตูซึ่งเป็นรายได้หลักได้ลดลงอย่างมาก มีเพียงสโมสรชั้นนำไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังคงมีกำไร ในฤดูกาล 1986-87 ทุกสโมสรฟุตบอลมีกำไรสุทธิรวมเพียง 2.5 ล้านปอนด์ พอถึงฤดูกาล 1989-90 รวมทุกสโมสรขาดทุน 11 ล้านปอนด์ ทำให้นายทุนไม่กล้าจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจกีฬาอาชีพนี้อย่างเต็มที่ หลายสโมสรในช่วงนั้นมีข่าวว่าใกล้จะล้มละลาย

          ภายหลังเหตุการณ์ที่สนามฮิลส์เบอโร รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น โดยมีลอร์ดปีเตอร์ เทย์เลอร์ ผู้พิพากษาระดับรองประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการ โดยผลการไต่สวนซึ่งเรียกว่า รายงานฉบับเทย์เลอร์ (Taylor Report) ได้กลายมาเป็นเอกสารสำคัญนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษ เพราะกำหนดให้ทุกสโมสรต้องปรับปรุงสนามแข่งขัน ที่สำคัญคืออัฒจันทร์ชมการแข่งขันต้องเป็นแบบนั่งทั้งหมด ห้ามไม่ให้มีอัฒจันทร์ยืนเพื่อความปลอดภัยของผู้ชมการแข่งขัน โดยทีมในระดับดิวิชัน 1 และ 2 ต้องปรับปรุงให้เสร็จในปี 2537 และ ดิวิชัน 3 และ 4 ให้เสร็จในปี 2542 ส่งผลให้การยืนชมฟุตบอลซึ่งเป็นวัฒนธรรมการชมฟุตบอลของคนอังกฤษมานาน บางแห่งก็มีชื่อเสียงอย่างเช่นอัตจันทร์ เดอะค็อป ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลต้องจบไป ถึงแม้ว่าในประเทศอังกฤษจะมีสโมสรฟุตบอลทั้งอาชีพและสมัครเล่นมากที่สุดในโลก แต่สนามฟุตบอลส่วนใหญ่มีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรม บางสโมสรในระดับดิวิชั่นหนึ่งหรือดิวิชั่นสองยังคงมีอัฒจันทร์ที่สร้างด้วยไม้ ทำให้การปรับปรุงสนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลอังกฤษครั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ท่ามกลางสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงเพราะรายได้ลดลงอย่างมาก สโมสรเล็กบางแห่งซึ่งมีผู้ชมน้อยอยู่แล้วจึงใช้วิธีปิดตายอัฒจันทร์ยืน ส่วนสโมสรใหญ่ที่ฐานะการเงินดีกว่าก็ประสบปัญหาเช่นกัน เพราะไม่อาจใช้วิธีเลี่ยงปัญหาแบบสโมสรเล็กได้

          รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นต้องเข้าช่วยเหลือโดยลดค่าธรรมเนียมหรือภาษีธุรกิจพนันฟุตบอล นำเงินส่วนนี้มาตั้งกองทุนฟุตบอลจำนวน 100 ล้านปอนด์ ให้ฟุตบอลลีกเป็นคนจัดสรรให้สโมสรฟุตบอลซึ่งเป็นภาคีสมาชิกทั้ง 96 สโมสร นำไปพัฒนาปรับปรุงสนามแข่งขันของตนเอง แต่งบประมาณเท่านี้ต้องนับว่าน้อยมาก หากนำมาเฉลี่ยอย่างเท่ากันแล้วจะได้รับเงินเพียงสโมสรละ 1.08 ล้านปอนด์เท่านั้น ขณะที่สโมสรฟุตบอลชั้นแนวหน้าของลีกต้องใช้เงินในการณ์นี้สูงถึงกว่าสิบล้านปอนด์ สโมสรใหญ่ในดิวิชั่นหนึ่งจึงกดดันฟุตบอลลีกจัดสรรเงินให้มากกว่าสโมสรเล็ก เพราะหากไม่เสร็จทันตามกำหนดอาจจะถูกถอนใบอนุญาตได้


กิจการถ่ายทอดทางโทรทัศน์

          ในช่วงเวลาที่สโมสรใหญ่ต้องการเงินทุนมหาศาลนี้ เป็นโอกาสให้เจ้าของสถานีโทรทัศน์สกาย ยื่นข้อเสนอให้สโมสรในดิวิชั่นหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ให้ถอนตัวจากสมาชิกฟุตบอลลีกเพื่อมาจัดตั้งเอฟเอพรีเมียร์ลีก โดยทางสถานีขอซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันในราคาแพง ทำสัญญาฉบับแรกซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันเป็นเวลา 5 ปี (ฤดูกาล 1992-93 ถึง 1996-97) จ่ายค่าตอบแทนให้ 304 ล้านปอนด์ เทียบกับในอดีตที่ฟุตบอลลีกได้รายได้จากการขายสิทธิให้สถานี ITV เพียง 44 ล้านปอนด์ ในช่วงเวลา 4 ปี เงื่อนไขตอบแทนทางธุรกิจเช่นนี้ ดึงดูดให้สโมสรทั้งหลายสนใจเป็นอย่างยิ่ง จนผู้บริหารสโมสรบางคน เช่น นายอลัน ชูการ์ เจ้าของสโมสรฟุตบอลทอตแนมฮ็อตสเปอร์ แสดงตนเป็นแกนนำในการล็อบบี้ให้สโมสรอื่น ๆ ในดิวิชั่นหนึ่งที่จะเริ่มแข่งขันในฤดูกาล 1992-93 เห็นชอบกับการก่อตั้งลีกแห่งนี้

          ในประเทศไทย ทางทรูวิชั่นส์ บริษัทเคเบิลทีวีของทรู คอร์ปอเรชั่น คว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2007-08 เป็นต้นไป


การจัดตั้ง

          17 กรกฎาคม 1991 มีการลงนามข้อตกลงภาคีสมาชิกก่อตั้ง (Founder Members Agreement) เพื่อวางหลักการสำคัญในการจัดตั้งพรีเมียร์ลีก ได้แก่ ระบบลีกสูงสุดใหม่นี้จะดำเนินการทางธุรกิจด้วยตนเอง ทำให้พรีเมียร์ลีกมีอิสระที่จะเจรจาผลประโยชน์กับผู้สนับสนุน รวมทั้งสิทธิในการขายสิทธิถ่ายทอดโทรทัศน์ของตนเอง แยกขาดจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษและฟุตบอลลีก จากนั้นในปี 1992 ทั้ง 20 สโมสรได้ยื่นขอถอนตัวจากฟุตบอลลีกอย่างเป็นทางการ

          ต่อมา 27 พฤษภาคม 1992 เอฟเอพรีเมียร์ลีกจึงก่อตั้งโดยจดทะเบียนในรูป บริษัทจำกัด มีสโมสรฟุตบอลสมาชิกทั้ง 20 แห่งเป็นหุ้นส่วน ความเป็นหุ้นส่วนจึงขึ้นอยู่กับผลการแข่งขันทางสโมสร หากทีมใดยังคงอยู่ในพรีเมียร์ลีกก็จะถือเป็นหุ้นส่วนของพรีเมียร์ลีกต่อไป ในช่วงปิดฤดูกาลสโมสรที่ตกชั้นจะต้องมอบสิทธิความเป็นหุ้นส่วนให้กับสโมสรที่เลื่อนชั้นมาจากลีกแชมเปี้ยนชิป โดยมีสมาคมฟุตบอลอังกฤษถือสิทธิเป็นหุ้นส่วนหลัก มีอำนาจที่จะคัดค้านในประเด็นสำคัญ เช่น การแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้บริหารระดับสูง หลักการเลื่อนชั้นหรือตกชั้นของสโมสรเท่านั้น แต่ไม่อาจล่วงไปถึงกิจการเฉพาะของพรีเมียร์ลีก ซึ่งได้แก่เงื่อนไขและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่าง ๆ

          ด้วยค่าตอบแทนจากการถ่ายทอดโทรทัศน์และประโยชน์ที่ได้รับจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน ทำให้พรีเมียร์ลีกพัฒนาเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


การซื้อตัวผู้เล่นต่างชาติ

          จารีตอันยาวนานของสโมสรฟุตบอลอังกฤษในเรื่องนักฟุตบอลของทีมคือ แต่ละสโมสรจะส่งตัวแทนค้นหาเยาวชนที่มีความสามารถทางการเล่นฟุตบอลเพื่อนำมาฝึกหัดพัฒนาทักษะ โดยให้ลงเล่นตั้งแต่ในทีมระดับเยาวชน สมัครเล่น หรือทีมสำรอง ผู้ที่มีความโดดเด่นจะได้รับคัดเลือกให้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่ซึ่งลงแข่งในฟุตบอลลีก หากจะมีการซื้อตัวผู้เล่น ก็มักจะมาจากสโมสรในดิวิชั่นหนึ่ง (แบบเดิม) ซื้อตัวผู้เล่น ดาวรุ่ง จากดิวิชั่นที่ต่ำกว่าหรือจากสโมสรสมัครเล่นนอกลีก มีน้อยมากที่ซื้อนักฟุตบอลต่างชาติ (ไม่นับรวม สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์) ต่างจากสโมสรฟุตบอลอาชีพทางยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสโมสรฟุตบอลในอิตาลีและสเปน ซึ่งมักจะได้รับฉายาว่า เจ้าบุญทุ่ม บ่อยครั้งที่สโมสรฟุตบอลจากสองประเทศนี้จ่ายเงินมหาศาล จนถึงขั้นสร้าง สถิติโลก ในการซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติเพียงหนึ่งคน

          แต่เมื่อพรีเมียร์ลีกก่อกำเนิด ธรรมเนียมการกว้านซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติของสโมสรฟุตบอลอังกฤษจึงเริ่มมีมากขึ้น จารีตการสร้างนักฟุตบอลของตัวเองแม้จะยังคงอยู่แต่ก็ลดความสำคัญลงไปทุกขณะ เพราะต้องใช้เวลายาวนานอาจไม่ทันการณ์ สู้ใช้เงินซื้อนักฟุตบอลชื่อดังระดับโลกมาร่วมสังกัดไม่ได้ ที่สามารถดึงดูดแฟนฟุตบอลให้ซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันมากขึ้นในเวลาอันสั้น ลีลาการเล่นที่ตื่นเต้นเร้าใจย่อมขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อสโมสรชั้นนำในพรีเมียร์ลีกต่างมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงกว่าเดิม จึงพร้อมที่จะทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์

          รูปโฉมใหม่ของฟุตบอลอาชีพอังกฤษเปิดฉากขึ้น ในฤดูกาล 1994-95 เมื่อทอตแนมฮ็อตสเปอร์ ซื้อตัวเจอร์เก้น คลินส์มันน์ (Juergen Klinsmann) นักฟุตบอลทีมชาติเยอรมันจากสโมสรโมนาโก จากฝรั่งเศส ทักษะและลีลาการเล่นฟุตบอลของคลินส์มันน์สร้างความตื่นตาตื่นใจต่อผู้ชม ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของกองเชียร์ในเวลาไม่นาน สร้างความพึงพอใจต่อสโมสรต้นสังกัดเป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จของทอตแน่มฮอตสเปอร์กระตุ้นให้สโมสรอื่น กล้าลงทุนซื้อตัวนักฟุตบอลระดับโลกมากขึ้น เพราะรายรับที่ได้กลับคืนมาคุ้มค่ากับการลงทุน

          ในฤดูกาลถัดมานักฟุตบอลต่างชาตได้มาเล่นในฟุตบอลอังกฤษมากขึ้น ในฤดูกาล 1995-96 สโมสรมิดเดิลสโบรซื้อจูนินโญ่และเอเมอร์สัน (บราซิล) สโมสรนิวคาสเซิลยูไนเด็ตซื้อฟาอุสติโน่ อัสปริญ่า (โคลอมเบีย) สโมสรอาร์เซนอลซื้อเดนิส เบิร์กแคมป์ (ฮอลแลนด์) สโมสรเชลซีซื้อรุด กุลลิท (ฮอลแลนด์) ฯลฯ ฤดูกาล 1996-97 สโมสรมิดเดิลสโบร์ซื้อฟาบริซิโอ ราวาเนลลี่ (อิตาลี) สโมสรเชลซีซื้อจิอันลูกา วิอัลลี่และจิอันฟรังโก้ โซล่า (อิตาลี) สโมสรลิเวอร์พูลซื้อแพทริก แบเกอร์ (สาธารณรัฐเช็ก) สโมสรอาเซนอลซื้อปาทริก วิอาร่า (ฝรั่งเศส) ฯลฯ

          นอกจากนักฟุตบอลแล้ว ผู้จัดการทีมต่างชาติก็เข้ามามีบทบาทในพรีเมียร์ลีกจวบจนปัจจุบันนี้ ไม่ว่าอาแซน แวงเกอร์, รุด กุลลิท, เชอรา อุลิแยร์, ราฟาเอล เบนีเตซ, โชเซ มูรีนโย ฯลฯ แม้แต่สโมสรฟุตบอลที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง ดังเช่น สโมสรลิเวอร์พูล ที่แม้ปรับตัวให้เข้ากับระบบใหม่ช้ากว่าคู่แข่งหลายทีม จนทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับแชมป์พรีเมียร์ลีก (ต่างจากยุคฟุตบอลลีก) ยังต้องปรับตัวต่อกระแสการซื้อตัวนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมต่างชาติ เพื่อหวังจะครองแชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกให้ได้

          อาจกล่าวได้ว่าในขณะนี้ เอฟเอพรีเมียร์ลีกเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ดึงดูดนักฟุตบอลชั้นดีให้มาประกอบวิชาชีพไม่ต่างจากกัลโชเซเรียอาของประเทศอิตาลีหรือลาลีกาของประเทศสเปน ตัวชี้วัดคุณภาพที่ดีที่สุดคือนักฟุตบอลที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ซึ่ง เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ มีจำนวน 101 คนที่เล่นฟุตบอลในอังกฤษ และปัจจุบันมีนักฟุตบอลต่างชาติในพรีเมียร์ชิพมากกว่า 250 คน


ระบบการแข่งขัน

          สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของ เอฟเอ พรีเมียร์ลีก ที่ใช้มาจนถึงฤดูกาล 2007มีทีมร่วมแข่งขัน 20 ทีม แข่งขันในระบบพบกันหมด เหย้าและเยือน ทีมชนะได้ 3 คะแนน ทีมเสมอได้ 1 คะแนน และทีมแพ้ไม่ได้คะแนน ตลอดฤดูกาลทุกทีมจะต้องแข่งขันทั้งสิ้น 38 นัด เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 3 สโมสรที่ได้คะแนนน้อยที่สุด จะถูกลดชั้นไปเล่นในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ

          4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก โดยสามทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม ในขณะที่ทีมอันดับ 4 จะต้องแข่งรอบเพลย์ออฟอีกทีหนึ่ง ส่วนอันดับ 5 6 7 จะได้เล่นยูฟ่า ยูโรป้า ลีก(ยูฟ่า คัพ)เดิม และทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภานในประเทศก็จะได้สิทธิ์ไปเล่นในยูโรป้า ลีก เช่นกัน ในกรณีที่ทีมอันดับ 1-4 ได้ ก็จะได้เล่นแชมเปียนส์ ลีก เหมือนเดิม ทีมที่เหลือจะได้เล่นยูโรป้า ลีก


ผู้สนับสนุน

ผู้สนับสนุนในฤดูกาลต่างๆ

1993-2001: เบียร์คาร์ลิง (FA Carling Premiership)
2001-2004: บัตรเครดิตบาร์เคลย์การ์ด (Barclaycard Premiership)
2004-2007: ธนาคารบาร์เคลส์ (Barclays Premiership)
2007-2010: บาร์เคลส์พรีเมียร์ลีกส์


Credit : th.wikipedia.org

อาร์เซนอล



ชื่อเต็ม : Arsenal Football Club
ฉายา : The Gunners ( ไอ้ปืนใหญ่ )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1886
สนาม : เอมิเรตส์สเตเดียม ( ความจุ: 60,355 คน )
ที่ตั้ง : กรุงลอนดอน
เจ้าของสโมสร : บริษัท อาร์เซนอล โฮลดิงส์
ผู้จัดการ : อาร์แซน เวนเกอร์



          สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล (หรือรู้จักกันดีในชื่อ "The Gunners" หรือ "ไอ้ปืนใหญ่") เป็นทีมจากฮอลโลเวย์ ย่านลอนดอนเหนือ เป็นสโมสรฟุตบอลที่เล่นในเอฟเอพรีเมียร์ลีก และเป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ โดยก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1886 ครองแชมป์ดิวิชั่น 1 รวม 13 ครั้งและเอฟเอคัพ 10 สมัย มีสนามเหย้าปัจจุบันคือ เอมิเรตส์สเตเดียม โดยย้ายจากสนามเดิมอาร์เซนอลสเตเดียม ในย่านไฮบิวรี่ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 สำหรับสถิติการเล่น สโมสรอาร์เซนอลยังเป็นสโมสรเดียวในพรีเมียร์ลีกที่ไม่เคยแพ้ตลอดฤดูกาล
สีประจำสโมสรคือสีแดง-ขาว ปัจจุบันอาร์เซนอลเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14
อาร์เซนอลมีกลุ่มแฟนบอลที่ให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมากทั่วโลก โดยมีคู่ปรับสำคัญหลายทีม ไม่ว่าจะเป็นคู่ปรับร่วมเมืองที่อยู่ไม่ไกลอย่างทอตแนมฮ็อตสเปอร์เมื่อใดที่ทั้งสองทีมมาเจอกันนั้นก็จะเป็นคราวที่สะกดคนดูทั้งลอนดอนเหนือไว้ที่สนามได้เลย อาร์เซนอลเป็นหนึ่งในสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในอังกฤษ (มีทรัพย์สินกว่า 600 ล้านปอนด์ในปี 2007)


ประวัติสโมสร

          สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลเริ่มต้นขึ้น เมื่อกลุ่มคนงานของโรงงานผลิตอาวุธรอยัลอาร์เซนอลในแขวงวูลิช กรุงลอนดอน ก่อตั้งทีมฟุตบอลของตนเองขึ้นมาเมื่อปลายปี ค.ศ. 1886 ในชื่อ ไดอัล สแควร์ การแข่งขันแรกของทีมคือเกมที่สามารถเก็บชัยชนะเหนือทีมอีสเทิร์น วันเดอเรอร์ส 6-0 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1886 หลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนชื่อเป็น รอยัลอาร์เซนอล และยังคงแข่งขันในเกมอุ่นเครื่องและรายการท้องถิ่นต่อไป จากนั้นได้ก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแล้วหันมาใช้ชื่อ วูลิชอาร์เซนอลในปี 1891 สโมสรแห่งนี้ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรกในปี 1893 ในดิวิชั่น 2 จากนั้นในปี 1904 ก็ได้ก้าวขึ้นมาอยู่ดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ในทางภูมิศาสตร์นั้นจะเห็นว่าสโมสรแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวเกินไป ส่งผลกระทบให้จำนวนผู้ชมมีน้อยกว่าสโมสรอื่นจนกระทั่งทีมต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนนำไปสู่การยุบทีมในปี 1910 เมื่อเฮนรี นอร์ริสได้เข้ามาเทคโอเวอร์ นอร์ริสพยายามมองหาแนวทางที่จะย้ายที่ตั้งของสโมสรไปอยู่ที่อื่นจนกระทั่งในปี 1913 หลังจากที่ตกชั้นดิวิชั่น 1 มาอยู่ดิวิชั่น 2 เหมือนเดิมนั้น อาร์เซนอลก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อาร์เซนอลสเตเดียมในย่านไฮบิวรี่ บริเวณลอนดอนเหนือ ในปีต่อมา สโมสรได้ตัดสินใจตัดคำว่า "วูลิช" ออกจากชื่อสโมสรจนเหลือเพียง อาร์เซนอล เท่าที่เห็นในปัจจุบัน หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ลีกดิวิชั่น 1 ก็เพิ่มจำนวนทีมเป็น 22 ทีม อาร์เซนอลได้อันดับ 5 ของดิวิชั่น 2 ในปี 1919 แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับเลือกให้กลับขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 อีกครั้งหนึ่ง และอาร์เซนอลก็ไม่เคยถูกลดชั้นหรือตกชั้นเลยนับตั้งแต่นั้นมา

          ปาทริก วิเอรา กัปตันทีมอาร์เซนอลชูถ้วยแชมป์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2003-04 นักเตะอาร์เซนอลและแฟนบอลร่วมกันฉลองแชมป์ลีกเมื่อปี ค.ศ. 2004 บนขบวนรถบัสในปี 1925 อาร์เซนอลได้ว่าจ้างให้เฮอร์เบิร์ต แชปแมนเป็นผู้จัดการทีม แชปแมนเคยพาสโมสรฟุตบอลฮัดเดอร์สฟิลด์ทาว์นคว้าแชมป์ลีกมาแล้ว 2 สมัยคือฤดูกาล 1923-24 และ 1924-25 ก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมอาร์เซนอลนี้ และแชปแมนคือคนแรกที่พาอาร์เซนอลก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความสำเร็จยุคแรก เขาจัดการเปลี่ยนระบบการซ้อมและแทคติคใหม่ทั้งหมดพร้อมทั้งซื้อนักเตะระดับแนวหน้ามาร่วมทีมไม่ว่าจะเป็นอเล็กซ์ เจมส์และคลิฟฟ์ บานติน ทำให้อาร์เซนอลก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษได้ในช่วงทศวรรษที่ 1930 อาร์เซนอลคว้าแชมป์รายการใหญ่ๆได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของแชปแมน โดยสามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ฤดูกาล 1929-30 และแชมป์ลีก 2 สมัยคือฤดูกาล 1930-31 และ 1932-33 นอกจากนั้น แชปแมนยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟใต้ตินที่อยู่ในย่านนั้นคือ Gillespie Road เป็นสถานีรถไฟใต้ดิน "อาร์เซนอล" อันเป็นสถานีรถไฟใต้ดินเพียงแห่งเดียวที่ตั้งชื่อตามสโมสรฟุตบอลโดยเฉพาะ

          น่าเสียดายที่แชปแมนเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคปอดบวมเมื่อต้นปี 1934 แต่หลังจากนั้น โจ ชอว์ และ จอร์จ อัลลิสัน ที่เข้ามารับตำแหน่งก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน พวกเขาพาอาร์เซนอลคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้อีก 3 สมัย (ฤดูกาล 1933-34, 1934-35 และ 1937-38) และเอฟเอคัพ 1 สมัย (1935-36) อย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลก็เริ่มถดถอยลงเรื่อยๆในช่วงปลายทศวรรษเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 การแข่งขันฟุตบอลอาชีพทุกรายการในอังกฤษต้องยุติลง

          หลังจากสงครามสิ้นสุดลง ทอม วิทเทคเกอร์ ผู้สืบทอดตำแหน่งของอัลลิสันได้เข้ามาบริหารทีม อาร์เซนอลจึงกลับมาประสบความสำเร็จได้อีก 2 ครั้งคือฤดูกาล 1947-48 และ 1952-53 ที่ได้แชมป์ลีก และ 1949-50 ที่ได้แชมป์เอฟเอคัพ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น โชคก็เหมือนจะไม่เข้าข้างอาร์เซนอลเท่าไรนัก สโมสรไม่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเตะชุดเดียวกับที่เคยอยู่ในทีมช่วงทศวรรษ 1930 ให้กลับเข้าสู่ทีมได้ ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 นั้น อาร์เซนอลกลายเป็นทีมระดับธรรมดาๆที่ไม่สามารถคว้าแชมป์อะไรได้เลย แม้ แต่บิลลี ไรท์ อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษที่ผันตัวเองมาเป็นผู้จัดการทีมนั้นก็ไม่สามารถนำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้เลยในช่วงปี 1962-1966 ที่เข้ามาคุมทีม

          อาร์เซนอลเริ่มกลับมาคว้าแชมป์ได้อีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ว่าจ้างให้เบอร์ตี้ มี นักกายภาพบำบัดให้มารับตำแหน่งผู้จัดการทีมในปี 1966 แบบไม่มีใครคาดคิด อาร์เซนอลสามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศลีกคัพได้ 2 สมัยแต่ก็พลาดแชมป์ทั้งสองครั้ง แต่ก็ยังสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์ซิตี้แฟร์สคัพ ฤดูกาล 1969-70 ซึ่งเป็นถ้วยยุโรปใบแรกในประวัติศาสตร์สโมสร ตามมาด้วยการคว้าดับเบิ้ลแชมป์เป็นครั้งแรก นั่นคือแชมป์ลีกและเอฟเอคัพในฤดูกาล 1970-71 แต่ในทศวรรษต่อมานั้น อาร์เซนอลทำได้แค่เพียงการเข้าไปใกล้ตำแหน่งแชมป์มากที่สุดแต่ก็แทบจะไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย โดยได้รองแชมป์ลีกในฤดูกาล 1972-73 รองแชมป์เอฟเอคัพในฤดูกาล 1971-72, 1977-78 และ 1979–80 และยังพ่ายแพ้ในเกมยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพรอบชิงชนะเลิศด้วยการดวลจุดโทษอีกด้วย สโมสรประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียวในช่วงนี้ก็คือการคว้าแชมป์เอฟเอคัพในฤดูกาล 1978-79 ได้ด้วยการเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปได้ 3-2 ในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญกันมากในเรื่องของความคลาสสิคของเกมนี้

          การกลับเข้ามาสู่วงการฟุตบอลอีกครั้งของ จอร์จ แกรแฮม อดีตนักเตะในฐานะผู้จัดการทีมของอาร์เซนอลในปี 1986 ทำให้สโมสรสามารถคว้าแชมป์ได้ 3 สมัย อาร์เซนอลคว้าแชมป์ลีกคัพได้ในฤดูกาล 1986-87 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกที่แกรแฮมเข้ามาคุมทีม จากนั้นก็มาได้แชมป์ลีกในฤดูกาล 1988-89 ด้วยการคว้าแชมป์จากประตูในนาทีสุดท้าของเกมที่พบกับลิเวอร์พูล จากนั้น อาร์เซนอลภายใต้การคุมทีมของแกรแฮมนั้นก็ได้แชมป์ลีกอีกในปี 1990-91 โดยแพ้ไปเพียงเกมเดียวเท่านั้น และสามารถคว้าแชมป์ดับเบิลแชมป์เอฟเอคัพพร้อมกับลีกคัพได้ในฤดูกาล 1992-93 และถ้วยยุโรปใบที่ 2 คือยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพในฤดูกาล 1993-94 ได้ อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงของแกรแฮมก็กลายเป็นความเสื่อมเสียเมื่อมีการเปิดเผยว่าเขาได้รับเงินสินบนจาก Rune Hauge เอเยนต์ของนักเตะในการซื้อตัว จากนั้น แกรแฮมก็โดนไล่ออกในปี 1995 และ บรูซ ริออช ก็เข้ามารับตำแหน่งแทน ซึ่งได้คุมทีมอยู่เพียงฤดูกาลเดียวก่อนที่จะลาออกไปเนื่องจากขัดแย้งกับบอร์ดบริหาร

          ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสโมสรอยู่ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 และช่วงทศวรรษที่ 2000 เนื่องจาก อาร์แซน เวนเกอร์ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมในปี 1996 เวนเกอร์นำแทคติคใหม่ๆมาใช้ นำวิธีการซ้อมใหม่ๆเข้ามาและนำนักเตะต่างชาติที่สามารถปรับตัวเข้ากับฟุตบอลอังกฤษได้มาเสริมทีมจำนวนมาก อาร์เซนอลจึงสามารถคว้าดับเบิลแชมป์ได้อีกครั้งในฤดูกาล 1997-98 ซึ่งเป็นแชมป์ลีกและแชมป์บอลถ้วย และได้ดับเบิลแชมป์ที่ 3 ในฤดูกาล 2001-02 นอกจากนั้น สโมสรยังสามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าคัพได้ในฤดูกาล 1999-00 (แพ้จุดโทษให้กับกาลาตาซาราย แต่มาได้แชมป์เอฟเอคัพ ในฤดูกาล 2002-03 และ 2004-05 แชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งในปี 2003-04 ซึ่งเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกโดยที่ไม่แพ้ทีมใดเลยจนได้รับฉายาว่า "อาร์เซนอลผู้ไร้เทียมทาน" (The Invincibles) และสามารถทำสถิติไม่แพ้ติดต่อกัน 49 นัดได้ในฤดูกาลต่อมา ซึ่งนับว่าเป็นสถิติสูงสุดของประเทศอีกด้วย

          อาร์เซนอลจบฤดูกาลด้วยอันดับ 1 หรืออันดับ 2 รวมทั้งสิ้น 8 ฤดูกาลจาก 11 ฤดูกาลที่อาร์แซน เวนเกอร์ก้าวเข้ามาคุมทีมๆนี้ อาร์เซนอลเป็นหนึ่งในสี่สโมสรเท่านั้นที่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ตั้งแต่ก่อตั้งลีกสูงสุดนี้ขึ้นในปี 1993 (นอกจากอาร์เซนอลก็มีแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส และเชลซี) แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้แม้แต่สมัยเดียวก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ อาร์เซนอลยังไม่เคยตกรอบที่ต่ำกว่ารองก่อนรองชนะเลิศในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเลย โดยในฤดูกาล 2005-06 สามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้ ซึ่งเป็นทีมแรกจากกรุงลอนดอนที่สามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปได้ในรอบ 15 ปี แต่กลับแพ้ให้กับบาร์เซโลนา 2-1 อย่างน่าเสียดาย จากนั้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 อาร์เซนอลก็ได้ยุติประวัติศาสตร์ 93 ปีที่ไฮบิวรีลง โดยการย้ายสนามเหย้ามาอยู่ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียมอันเป็นที่ตั้งของสโมสรในปัจจุบันนี้

          เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 20 ในปลายปี ค.ศ. 1999 อาร์เซนอลได้รับการจัดลำดับจากสำนักข่าวบีบีซีให้เป็นทีมฟุตบอลที่ดีที่สุดของอังกฤษในรอบ 100 ปี โดยพิจารณาจากสถิติ และปัจจัยต่าง ๆ โดยมี เอฟเวอร์ตัน และ ลิเวอร์พูล เป็นอันดับสอง และสาม ตามลำดับ

เกียรติประวัติ

ระดับประเทศ

ดิวิชั่น 1 และพรีเมียร์ลีก
ชนะเลิศ : 1930–31, 1932–33, 1933–34, 1934–35, 1937–38, 1947–48, 1952–53, 1970–71, 1988–89, 1990–91, 1997–98, 2001–02, 2003–04
รองชนะเลิศ : 1925–26, 1931–32, 1972–73, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2002–03, 2004–05

ดิวิชัน 2
รองชนะเลิศ : 1903–04

เอฟเอคัพ
ชนะเลิศ : 1929–30, 1935–36, 1949–50, 1970–71, 1978–79, 1992–93, 1997–98, 2001–02, 2002–03, 2004–05
รองชนะเลิศ : 1926–27, 1931–32, 1951–52, 1971–72, 1977–78, 1979–80, 2000–01

ลีกคัพ
ชนะเลิศ : 1986–87, 1992–93
รองชนะเลิศ : 1967–68, 1968–69, 1987–88, 2006–07

ชาริตีชิลด์และคอมมิวนิตีชิลด์
ชนะเลิศ : 1930, 1931, 1933, 1934, 1938, 1948, 1953, 1991 (แชมป์ร่วม), 1998, 1999, 2002, 2004
รองชนะเลิศ : 1935, 1936, 1979, 1989, 1993, 2003, 2005

ระดับทวีปยุโรป

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
รองชนะเลิศ : 2005–06

ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ
ชนะเลิศ : 1993–94
รองชนะเลิศ : 1979–80, 1994–95

อินเตอร์ซิตี้แฟร์คัพ
ชนะเลิศ : 1969–70

ยูฟ่าคัพ
รองชนะเลิศ : 1999–2000

ยูฟ่าซุปเปอร์คัพ
รองชนะเลิศ : 1994


Credit : th.wikipedia.org

แอสตัน วิลล่า



ชื่อเต็ม : Aston Villa Football Club
ฉายา : The Villans ( สิงห์ผงาด )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1874
สนาม : วิลล่า ปาร์ค ( ความจุ 42,640 คน )
ที่ตั้ง : เมืองเบอร์มิงแฮม
ประธานสโมสร : แรนดี้ เลอร์เนอร์
ผู้จัดการทีม : มาร์ติน โอนีล



ประวัติสโมสร

          สมาชิกเริ่มแรกของทีมเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันขึ้นภายในโบสถ์ แอสตันวิลล่า เวสลีแยน (Aston Villa Wesleyan) และได้ก่อตั้ง ทีมลิลล่า ขึ้นมาในปี 1874 (พ.ศ. 2417) โดยมีสมาชืกผู้ร่วมจัดตั้งกลุ่มหนึ้ง 12 คน และได้นำทีมเข้าร่วมเป็นทีมในลีก เมื่อปี 1888 หลังจากที่ทีมแอสตันวิลล่า ได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกในการแข่งขัน เอฟ เอ คัพ ในปี 1887 พร้อมทั้งครองแชมป์ในลีก ในช่วงแรกๆ ถึง 5 ครั้ง ใน 12 ฤดูกาล
ปี 1897 เป็นปี ที่ แอสตันวิลล่า ประสบความสำเร็จสูงสุด เมื่อกลายเป็นทีมดับเบิลแชมป์ ประวัติศาสตร์ของทีมแอสตันวิลล่า นั้นจะเห็นได้ว่า เล่นอยู่ในระดับดิวิชั่นสูงสุด ที่ยาวนานมาก แต่กลับมีโอกาสได้สัมผัสตำแหน่งแชมป์ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยทำให้ทุกคนตะลึงงัน เมื่อแอสตันวิลล่า ได้เป็นแชมป์ลีก เมื่อปี1981 ซึ่งรอคอยมาเป็นเวลากว่า 70 ปี พร้อมกับติดตามด้วยการชนะเลิศเป็นแชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ ในฤดูกาลต่อมา เกรแฮม เทย์เลอร์ ได้นำทีม แอสตันวิลล่า เข้าไกล้แชมป์ ในรายการต่างๆ มากเมื่อปี 1990 และได้เป็นอันดับ 2 ของพรีเมียร์ ลีก เมื่อปี 1993

เบอร์มิงแฮม ซิตี้



ชื่อเต็ม : Birmingham City Football Club
ฉายา : The Blues ( เดอะ บลูส์ )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1875
สนาม : เซนต์ แอนดรูว์ ( ความจุ 30,009 คน )
ที่ตั้ง : เมืองเบอร์มิงแฮม
ประธานสโมสร : เดวิด โกลด์
ผู้จัดการทีม : อเล็กซ์ แม็คลิช



ประวัติสโมสร

          สโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตี้ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1875 ในชื่อ สมอลล์ ฮีท อัลลิอานซ์ (Small Heath Alliance) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สมอลล์ ฮีท ในปี ค.ศ. 1888 ได้เปลี่ยนเป็นสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมในปี ค.ศ. 1905 และสุดท้ายก็เปลี่ยนมาเป็น สโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตี ในปี ค.ศ. 1943 ปัจจุบันเล่นอยู่ในเอฟเอ พรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้น ส่วนใหญ่แล้ว สโมสรมักจะได้เล่นในระดับลีกสูงสุดนี้อยู่บ่อยๆ


Credit : th.wikipedia.org

แบล็คเบิร์น โรเวอส์



ชื่อเต็ม : Blackburn Rovers Football Club
ฉายา : Rovers ( กุหลาบไฟ )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1875
สนาม : อีวู้ด ปาร์ค ( ความจุ 31,367 คน )
ที่ตั้ง : เมืองแบล็คเบิร์น
ประธานสโมสร : จอห์น วิลเลี่ยมส์
ผู้จัดการทีม : แซม อัลลาไดซ์



ประวัติสโมสร

          แบล็กเบิร์นก่อตั้งปี 1872 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกครั้งแรกในปี 1911 ได้สมัยที่ 2 ในปี 1913 ในปี 1992 มีการเปลี่ยนชื่อลีกสูงสุดเป็นพรีเมียร์ชิพในปีแรกทีมจบด้วยอันดับ 4 แต่ด้วยการทุ่มทุนมหาศาลของแจ็ค วอร์กเกอร์ประธานสโมสรผู้ทำธุรกิจเหล็กกล้าซึ่งลงทุนจ้างเคนนี่ ดัลกลิช อดีตผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลพร้อมกับให้เงินดัลกลิชซื้อ อลัน เชียร์เลอร์ มาจับคู่กับ คริส ซัตตัน จนสามารถชนะเลิศพรีเมียร์ชิพได้สำเร็จในฤดูกาลถัดมาแบล็คเบิร์นจบด้วยอันดับ 7 และก็เสียนักเตะอย่างอลัน เชียร์เลอร์,โทนี่ เกล,เดวิด แบ็ทตี้ ทำให้แบล็คเบิร์นพยายามซื้อนักเตะอย่างซีเนอดีน ซีดานแต่ก็ล้มเหลว ก่อนที่ทีมจะตกชั้นลงไปเล่นเดอะ แชมเปี้ยนชิพในปี 1998 และแจ็ค วอร์กเกอร์ได้เสียชีวิตด้วยวัย 71 ปีในปี 2000 และในปี 2001/2002 แบล็คเบิร์นสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นพรีเมียร์ลีกได้สำเร็จพร้อมกับคว้าแชมป์คาร์ลิ่ง คัพ มาครองได้สำเร็จ


เกียรติประวัติ

แชมป์พรีเมียร์ลีก  : ค.ศ. 1994-1995
แชมป์ เอฟเอ คัพ  : ค.ศ. 1884, 1885, 1886, 1890, 1891, 1928
แชมป์ ลีก คัพ  : ค.ศ. 2002


Credit : th.wikipedia.org

แบล็คพูล



ชื่อเต็ม : Blackpool Football Club
ฉายา : Seasiders , Pool
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1887
สนาม : Bloomfield Road ( ความจุ 12,555 คน )
ที่ตั้ง : เมืองแบล็คพูล
เจ้าของสโมสร : Oyston Owen , Valeri Belokon
ผู้จัดการ : Ian Holloway

โบลตัน วันเดอเรอส์



ชื่อเต็ม : Bolton Wanderers Football Club
ฉายา : The Trotters ( เดอะ ทร๊อตเตอส์ )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1874
สนาม : รีบอค สเตเดี้ยม ( ความจุ 28,723 คน )
ที่ตั้ง : เมืองโบลตัน
ประธานสโมสร : ฟิล การ์ดไซด์
ผู้จัดการทีม : โอเว่น คอยล์



ประวัติสโมสร

          สโมสรฟุตบอลโบลตัน วันเดอเรอส์ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในอังกฤษ โดยเล่นในระดับพรีเมียร์ลีกแม้โบลตันจะไม่ใช่ทีมระดับแนวหน้าแต่ก็เคยมีนักเตะที่มีชื่อเสียงย้ายมาเล่นให้กับทีมอย่าง ยูริ จอร์เกฟฟ์, เฟอร์นานโด เอียร์โร่,เจย์ เจย์ โอโคชาและนิโกล่า อเนลก้า ในปี 2004 โบลตันผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศคาร์ลิ่งคัพแต่ก็พลาดแชมป์ไปด้วยการแพ้มิดเดิลสโบรห์


Credit : th.wikipedia.org

เชลซี



ชื่อเต็ม : Chelsea Football Club
ฉายา : The Blues ( สิงห์บลูส์,สิงโตน้ำเงินคราม )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1905
สนาม : สแตมฟอร์ดบริดจ์ ( ความจุ 41,841 คน )
ที่ตั้ง : กรุงลอนดอน
เจ้าของสโมสร : โรมัน อับราโมวิช
ผู้จัดการทีม : คาร์โล อันเชลอตติ



ประวัติสโมสร

          สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งเมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) ที่ ผับชื่อเดอะไรซิงซัน ตรงข้ามกับสนามแข่งปัจจุบันบนถนนฟูแลม และได้เข้าร่วมกับลีกฟุตบอลในเวลาต่อมา เชลซีเริ่มมีชื่อเสียงภายหลังจากที่ได้รับชัยชนะใน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1954–55

          ปี 1996 แต่งตั้ง รุด กุลลิท(Ruud Gullit) เป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีม เชลซีสามารถคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองได้ในยุคของกุลลิทนี้

          ปี 1997 เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น จิอันลูก้า วิอัลลี่( Gianluca Vialli) โดยเป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีมในช่วงแรก ในยุคของวิอัลลี่นี้สามารถทำทีมได้แชมป์ลีกคัพ และ ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพและสามารถเข้าถึงรอบรอง"ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"ได้เป็นปีทีสองติดต่อกันก่อนที่จะแพ้รีล มายอร์ก้าในปีนั้นทีมที่ได้แชมป์คือ ลาซิโอทีมจากอิตาลีไป ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการจัดการแข่งขัน "ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"

          ปี 2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่ถูกปลดออกจากผู้จัดการทีมและแทนที่ด้วย เคลาดิโอ รานิเอรี(Claudio Ranieri) เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ในยุคของรานิเอรีนั้น เชลซีมีผลงานติดห้าอันดับแรกของของพรีเมียร์ลีกอย่างสม่ำเสมอ

          มิถุนายน ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ.2003) โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการต่อจากเคน เบตส์(Ken Bates) ในราคา 140 ล้านปอนด์ หลังการเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เคลาดิโอ รานิเอรีซึ่งเป็นผู้จัดการทีมในขณะนั้นยังคงได้คุมทีมต่อไป ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทีมอย่างมากมาย มีการซื้อนักเตะชื่อดังหลายรายเข้ามาเสริมทีมโดยใช้เงินไปอีกมากมายกว่าร้อยล้านปอนด์ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันเชลซีไม่คว้าแชมป์ใดมาได้เลย สามารถทำอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก และ เข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก เมื่อจบฤดูกาลแรกหลังจากเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทางทีมจึงได้ปลด เคลาดิโอ รานิเอรี่ ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม และได้เซ็นสัญญาให้ โชเซ่ มูรินโญ่ ( José Mourinho)เป็นผู้จัดการทีมต่อมา

          ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอังกฤษในสมัยนั้นเป็นอย่างมากกับบทสัมภาษณ์และทัศนะของ มูริญโญ่เอง

          ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกหลังจาก เข้าซื้อกิจการของสโมสร และครบร้อยปีจากการตั้งสโมสร

          ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งสองสมัยติดต่อกัน

          20 กันยายน พ.ศ. 2550 มูรินโญ่ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง หลังจากทำผลงานไม่ดี 3 นัดติดต่อกัน แพ้ แอสตันวิลลา 0-2 เสมอแบล็กเบิร์นโรเวอร์ส 0-0 และไล่ตีเสมอโรเซนบอร์ก 1-1 และเปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น อัฟราม แกรนท์ (Afram Grant)

          11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สิ้นสุดฤดูกาลแรกของ อัฟราม แกรนท์ ไม่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ หลังจากรับงาน อัฟราม แกรนท์ พาทีมเชลซีต่อสู้แย่งแชมป์กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนถึงนัดสุดท้าย แต่ไม่สามารถทำได้โดยนัดสุดท้ายทำได้เพียงเสมอกับ โบลตัน (Bolton)1-1 โดยถูกตีเสมอในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน สิ้นสุดฤดูกาลเชลซีทำแต้มได้ 85 แต้ม โดยแชมป์(แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด)ทำได้ 87 แต้ม

          21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เข้าชิงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย ในเวลา 120 นาทีเสมอกัน 1-1 ต้องเตะลูกจุดโทษตัดสิน เชลซีแพ้ไป 10-9 ประตู

          24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้บริหารสโมสรมีมติปลดอัฟราม แกรนท์ ออกจากตำแหน่ง

          1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง หลุย เฟลิปเป้ สโกลารี่ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ

          9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 สโกลารี่ทำผลงานได้ไม่ดี หลังจากนำทีมเสมอต่อ ฮัลล์ 10-10 ตามหลังแมนฯ ยูผู้นำอยู่ 7 แต้ม ผู้บริหารสโมสรได้มีมติปลดออกจากตำแหน่ง

          12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มติสโมสรแต่งตั้ง กุส ฮิดดิ้งค์ กุนซือชาวฮอลแลนด์ผู้จัดการทีมชาติรัสเซียเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยฮิดดิ้งค์จะทำหน้าที่ควบ 2 ตำแหน่ง ทั้งผู้จัดการทีมชาติรัสเซียและผู้จัดการเชลซี และกุส ฮิดดิ้งค์ นี้พาเชลชี คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 โดยเอาชนะเอฟเวอร์ตันในนัดชิงชนะเลิศ

          1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง คาร์โล อันเชล็อตติ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ


เกียรติประวัติ

แชมป์ เอฟเอ พรีเมียร์ลีก และ ฟุตบอลลีกดิวิชั่นหนึ่ง : 4 ครั้ง
1955, 2005, 2006, 2010

ฟุตบอลลีกดิวิชั่นสอง : 2 ครั้ง
1984, 1989

เอฟเอคัพ : 6 ครั้ง
1970, 1977, 2000, 2007, 2009, 2010

ลีกคัพ : 4 ครั้ง
1965, 1998, 2005, 2007

ชาริตีชิลด์
1956, 2000, 2005, 2009

Full Members' Cup
1986, 1990

ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ
1971, 1998

UEFA Super Cup
1998

FA Youth Cup
1960, 1961, 2008, 2010

รองแชมป์ฟุตบอลเอฟเอคัพ
1951, 1997, 1994

แชมป์ ( Makita/Umbro Trophy )
1994, 1997

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
รอบรองชนะเลิศ 2004, 2005, 2007, 2009
รองแชมป์ 2008

World football challenge
2009


Credit : th.wikipedia.org

เอฟเวอร์ตัน



ชื่อเต็ม : Everton Football Club
ฉายา : The Toffees ( ทอฟฟี่สีน้ำเงิน )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1878
สนาม : กูดิสันพาร์ค ( ความจุ 40,260 คน )
ที่ตั้ง : เมืองลิเวอร์พูล
ประธานสโมสร : บิลล์ เคนไรต์
ผู้จัดการทีม : เดวิด มอยส์



ประวัติสโมสร

          สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันเป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี 1878 โดยใช้ชื่อว่า เซนต์โดมิงโก เอฟซี ตามชื่อโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล และเปลี่ยนชื่อเป็น เอฟเวอร์ตัน เอฟซี ในปี 1884 และใช้สนามแอนฟิลด์ โรด เป็นสนามเหย้า โดยมี จอห์น โฮลดิง ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลิเวอร์พูลและสมาชิกสภาผู้แทนพรรคอนุรักษ์นิยม เป็นประธานสโมสร

          เอฟเวอร์ตัน คว้าแชมป์แรกได้ในฤดูกาล 1890-1891 ซึ่งในปีนั้น "ทอฟฟี่สีน้ำเงิน" มีชุดทีมเป็นเสื้อสีชมพูอ่อน กางเกงสีฟ้า ถุงเท้าสีฟ้า และต่อมากลุ่มแฟนบอล เอฟเวอร์ตัน ได้เรียกร้องให้ใช้เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีขาว ถุงเท้าสีขาว เป็นชุดประจำสโมสรมาจนถึงปัจจุบัน

          เมื่อวันที่ 15 มี.ค.1892 ผู้บริหารสโมสรได้ตัดสินใจปลด จอห์น โฮลดิง ออกจากตำแหน่งและได้ย้ายทีมเอฟเวอร์ตันไปยังฝั่งตะวันตกของ สแตนลีย์ ปาร์ค ซึ่งในสมัยนั้นเรียกพ้นที่บริเวณนั้นว่า กรีน เมอร์ ต่อมาสนามแห่งนั้นถูกเรียกชื่อตามถนน เป็น กูดิสัน ปาร์ค จนถึงปัจจุบัน

          ในฤดูกาล 1893-1894 แจ็ค เซาธ์เวิร์ธ เป็นดาวยิงสูงสุดของลีกอังกฤษ ด้วยจำนวน 27 ประตู ซึ่งอดีตนักเตะ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ รายนี้ถือเป็นดาวซัลโวสูงสุดรายแรกของเอฟเวอร์ตัน

          ฤดูกาล 1927-1928 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1)เอฟเวอร์ตัน ได้สร้างสถิติที่ไม่มีใครลบได้จนถึงปัจจุบัน เมื่อ ดิ๊กซี่ ดีน กองหน้าชาวอังกฤษ ผลิตสกอร์ให้กับสโมสรได้ถึง 60 ประตูในหนี่งฤดูกาล และเป็นสถิติการทำประตูในหนึ่งฤดูกาลที่มากที่สุดในลีกอังกฤษ

          เอฟเวอร์ตัน เริ่มต้นยุคใหม่ในปี 1961 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)เมื่อได้จอห์น มัวส์ มหาเศรษฐีชาวเมืองลิเวอร์พูล ที่เป็นเจ้าของกิจการลิต เติลวูด พูล และ ธุรกิจการส่งของทางอากาศ เป็นประธานสโมสร โดยมี แฮร์รี แคทเทอร์ริค เป็นผู้จัดการทีม ซึ่ง เอฟเวอร์ตัน ยุคนั้นมี โฮเวิร์ด เคนดัลล์, อลัน บอลล์ และ โคลิน ฮาร์วีย์ เป็นกำลังสำคัญซึ่งทั้ง 3 พาทีมครองแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษได้อีกครั้งในฤดูกาล 1962-1963 ก่อนที่ แฮร์รี แคตเทอร์ริค จะลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ

          หลังจากนั้น บิลลี บิงแฮม ได้ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมแทน แคตเทอร์ริค แต่เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่เคยคว้าแชมป์ได้เลยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่คุมทีม จนในที่สุดบอร์ดบริหารได้ตัดสินใจปลด บิงแฮม ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง กอร์ดอน ลี มารับตำแหน่งแทน แต่ผลงานโดยรวมของ เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่ดีขึ้นแต่งอย่างใด

          ในช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 เป็นการกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งของทีมสีน้ำเงิน เมื่อ ฟิลิป คาร์เตอร์ เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสร แทนที่จอห์น มัวร์ส และได้ดึง โฮเวิร์ด เคนดัลล์ เป็นผู้จัดการทีม โดยที่ เคนดัลล์ นำความสำเร็จมาสู่เอฟเวอร์ตันอีกครั้ง โดยพาทีมคว้าแชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1984 และสามารถเอาชนะลิเวอร์พูลในศึกแชริตี้ ชิลด์ ปีถัดมายังได้แชมป์ดิวิชั่น1 มาครอง ในปี 1984-1985 โดยทิ้งลิเวอร์พูลอันดับ 2 ถึง 13 แต้ม และคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนส์คัพวินเนอร์คัพมาครอง ด้วยการ ถล่มบาร์เยิร์น มิวนิค 3-1

          ทศวรรษที่ 1990 เอฟเวอร์ตัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสรอีกครั้งโดยมี ปีเตอร์ จอห์นสัน เข้ามาบริหารงาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมเป็น โจ รอยส์ , โคลิน ฮาร์วีย์ และ โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ซึ่งทั้งหมดคือดีตนักเตะของทีมนั่นเอง แต่ผลงานของทีมก็ไม่ดีขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าวทีมได้แชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1995 เท่านั้น

          จนกระทั่งปี 1999 บิลล์ เคนไรท์ ได้เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสรและได้แต่งตั้ง วอลเตอร์ สมิธ เป็นผู้จัดการทีม จนถึงปี 2002 เอฟเวอร์ตัน ก็ได้ตัว เดวิด มอยส์ เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยในฤดูกาลแรก เดวิดมอยส์ พาเอฟเวอร์ตัน หนีตกชั้นได้สำเร็จโดยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 15 ฤดูกาลต่อมาก็พาทีม สร้างผลงานอันสุดยอดโดยการ จบฤดูกาลด้วยอันดับ 7 แม้ว่าฤดูกาลต่อมานักเตะจะเล่นด้วยความรู้สึกเหมือนไร้หัวใจ จนเกือบตกชั้นโดยมีคะแนนอยุ่เหนือโซนตกชั้น เพียง 3 คะแนน และเริ่มฤดูกาล 2003-2004 โดยการสูญเสียดาวยิงที่เป็นความหวังของทีม อย่าง เวน รูนี่ย์ ไปให้แก่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่เดวิดมอยส์กลับสร้าง เซอร์ไพร์ ด้วยการพาทีมจบฤดูกาล ด้วยอันดับที่ 4 คว้า ตั๋วใบสุดท้าย ไปเล่น แชมเปียนลีกรอบคัดเลือก และสร้างความหวังให้แก่สาวกของเอฟเวอร์โตเนี่ยนทั้งปวง แต่ต้องผิดหวัง เมื่อไม่ผ่านรอบคัดเลือก แถมยัง กระเด็นตกรอบยูฟ่าคัพอีกด้วย และเป็นฤดูกาลที่น่าเจ็บ ปวด เมื่อพบว่า ฤดูกาล 2004 - 2005 นั้นไม่เป็นอย่างที่หวัง เพราะเอฟเวอร์ตันออกตัวได้อย่างย่ำแย่ โดยไม่เหลือเค้าทีมที่เคยคว่าอันดับ 4 เมื่อฤดูกาลก่อน จนมีเสียงวิพากวิจารณ์การทำงานของเดวิดมอยส์ และเสียงเรียกร้องจากแฟนบอลทั่วโลกให้ปลดมอยส์ออก แต่อย่างไรก็ตาม บร์อดบริหาร ยังคงไว้ใจให้เขาทำหน้าที่ผู้จัดการทีมต่อไป และ เดวิดมอยส์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความสามารถที่แท้จริงของเขา เมื่อสามารถทำให้เอฟเวอร์ตัน จบฤดูกาล ได้ด้วยอันดับที่ 11 ฤดูกาล 2006-2007 เอฟเวอร์ตัน ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นทีมระดับต้นๆของอังกฤษ ภายใต้การทำทีมของเดวิดมอยส์ เขาเสาะหานักเตะฝีเท้าดีราคาถูกเข้ามาสู่ทีม อย่างไม่ขาดสาย และผลงานของเอฟเวอร์ตันดีวันดีคืน จนกระทั่ง สามารถ จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 คว่าโควต้าไปเล่น ยูฟ่าคัพได้สำเร็จ และ และเริ่มต้นฤดูกาลด้วยความร้อนแรง จนสร้างความหวังให้แก่สาวกเอฟเวอร์โตเนี่ยน ว่า ความยิ่งใหญ่กำลังจะกลับมา และทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ใน ถ้วย ยูฟ่า คัพ ด้วยการผ่านรอบแบ่งกลุ่ม ด้วยการเก็บ 12 คะแนนเต็ม เดวิด มอยส์ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมได้อย่างยอดเยี่ยมมาจนถึงปัจจุบัน และกล้าประกาศตัวที่จะคว้าโควต้า ไปเล่น ฟุตบอล ยูฟ่า แชมเปียน ลีก โดยการจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 เป็นอย่างน้อย ซึ่ง พัฒนาการของทีมที่เห็นเป็นรูปธรรมนั้น ทำให้แฟนบอลเชื่อมั่นว่า เอฟเวอร์ตันกำลังเข้าสู่ยุครุ่งเรือง เมื่อเดวิด มอยส์ ส่งสัญญาณการคุมทีมระยะยาว โดยการคัดเลือกดาวรุ่งฝีเท้าดีเข้ามาเติมเต็มถิ่นกูดิสัน ปาร์กอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ และสติปัญญาของเดวิดมอยส์ ที่ เน้นคุณภาพ ในราคาประหยัด ตามลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของชาวสก๊อต นั่นทำให้ เอฟเวอร์ตันเป็นอีกทีมหนึ่งที่มีอนาคตสดใสทีเดียวและในฤดูกาล2008-2009 เอฟเวอร์ตันสามารถผ่านเข้าไปรอบชิงชนะเลิศฟุตบอล เอฟเอคัพได้สำเร็จแต่ก็พลาดท่าแพ้เชลซีไป2-1และจบฤดูกาลได้อันดับ5ได้โควตาไปเล่นยูฟ่าคัพซึ่งทำให้ความคาดหวังของแฟนเชียร์สูงขึ้นมากแต่ในฤดูกาล2009/2010 เอฟเวอร์ตันเริ่มนัดแรกด้วยการแพ้อาร์เซนอลชนิดว่าไม่มีลุ้น6-1 ทำให้มอยส์เริ่มดึงตัวนักเตะราคาแพงอย่าง ดินิยาร์ บิลยาเลตดินอฟ ปีกทีมชาติรัสเซีย จอห์น ไฮติงก้า กองหลังทีมชาติฮอลแลนด์ เป็นต้น และเอฟเวอร์ตันก็ผลงานดีขึ้นเรื่อยๆซึ่งในฤดูกาลนี้มีสิ่งที่น่าจดจำคือหลุยส์ซาฮา อดีตกองหน้าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยิง 2ประตูให้เอฟเวอร์ตันพลิกชนะเชลซี 2-1พร้อมกับการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของแจ็ค ร็อดเวลล์และแดน กอสลิ่ง2ดาวรุ่งของเอฟเวอร์ตันซึ่งยิงให้ทีมชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 3-1 โดยในเกมส์ดังกล่าวดินิยาร์ บิลยาเลตดินอฟ ได้ทำประตูด้วยซึ่งทั้งสองเกมส์เกิดขึ้นในสองสัปดาห์ติดกัน


เกียรติประวัติ

แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง (เดิม) : 9 ครั้ง
1890–91, 1914–15, 1927–28, 1931–32, 1938–39, 1962–63, 1969–70, 1984–85, 1986–87

แชมป์เอฟเอคัพ : 5 ครั้ง
1906, 1933, 1966, 1984, 1995

แชมป์แชลิตี ชิลด์ : 9 ครั้ง
1928, 1932, 1963, 1970, 1984, 1985, 1986 (shared), 1987, 1995

แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์สคัพ : 1 ครั้ง
1985

แชมป์ดิวิชั่น 2 (เดิม) : 1 ครั้ง
1930–31

แชมป์เอฟเอ ยูธ คัพ : 3 ครั้ง
1965, 1984, 1998

แชมป์ลิเวอร์พูล ซีเนียร์ คัพ : 45 ครั้ง
1884, 1886, 1887, 1890, 1891, 1892, 1894, 1895, 1896, 1898, 1899, 1900, 1904, 1906, 1908, 1910 (shared), 1911, 1912 (shared), 1914, 1919, 1921, 1922, 1923, 1924, 1926, 1928, 1934 (shared), 1936 (shared), 1938, 1940, 1945, 1953, 1954, 1956, 1957, 1958 (shared), 1959, 1960, 1961, 1982 (shared), 1983, 1996, 2003, 2005, 2007


Credit : th.wikipedia.org

ฟูแล่ม



ชื่อเต็ม : Fulham Football Club
ฉายา : The Cottage (เจ้าสัวน้อย)
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1879
สนาม : คราเวน คอทเทจ (ความจุ 25,678 คน)
ที่ตั้ง : กรุงลอนดอน
ประธานสโมสร : โมฮาเมด อัลฟาเยด
ผู้จัดการทีม : ?



ประวัติสโมสร

          สโมสรฟุตบอลฟูแล่ม Fulham Football Club เป็นสโมสรหนึ่งที่สร้างความตื่นเต้นในการลุ้นหนีตกชั้นพรีเมียร์ลีกของฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งในเดือนกันยายนพ.ศ. 2422(ค.ศ. |1879) มีฉายาในภาษาไทยว่า "เจ้าสัวน้อย" สนามเหย้าปัจจุบันใช้สนามคราเวน คอทเทจในกรุงลอนดอนโดยฟูแล่มอยู่ภายใต้การครอบครองของโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด นักธุรกิจชาวอียิปต์ได้มอบเงินลงทุนจำนวนมหาศาลในการซื้อนักเตะเข้าทีมจึงทำให้ได้ฉายาว่าเจ้าสัวน้อยเพราะฟูแล่มเคยดึงนักเตะชื่อดังอย่างสตีฟ มาร์กเล่ย์ นักเตะทีมชาติฝรั่งเศสมาด้วยค่าตัว12 ล้านปอนด์แต่ก็ทำผลงานได้น่าผิดหวังและในฤดูกาล2007/2008ฟูแล่มภายใต้การคุมทีมของรอย ฮ็อดสันเกือบตกชั้นลงไปเล่นเดอะแชมเปี้ยนชิพซึ่งในช่วงท้ายฤดูกาลนั้นฟูแล่มจำเป็นต้องชนะใน3นัดสุดท้ายเพื่ออยู่รอดโดยนัดสุดท้ายฟูแล่มชนะพอร์ทสมัธ1-0จากแดนนี่ เมอร์ฟี่ อดีตนักเตะลิเวอร์พูลทำให้ฟูแล่มรอดตกชั้นด้วยอันดับ17ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนทีมซึ่งทำให้ฟูแล่มซึ่งหนีตกชั้นเป็นส่วนใหญ่กลายเป็นทีมลุ้นพื้นที่ไปเล่นฟุตบอลยุโรปซึ่งในฤดูกาล2009-2010 ฟูแล่มซึ่งได้โควตาเล่นฟุตบอลยูโรป้า ลีก(เปลี่ยนชื่อจากยูฟ่าคัพ)ฝ่าด่านทีมดังอย่างชัคเตอร์ โดห์เนตค์,ยูเวนตุส,ฮัมบูร์ก เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ


Credit : th.wikipedia.org

ลิเวอร์พูล



ชื่อเต็ม : Liverpool Football Club
ฉายา : The Reds ( หงส์แดง )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1892
สนาม แอนฟิลด์ ( ความจุ 45,362 คน )
ที่ตั้ง : ลิเวอร์พูล
ประธานสโมสร : มาร์ติน บรอฟตัน
ผู้จัดการทีม : รอย ฮ็อดจ์สัน



ประวัติสโมสร

          จอห์น โฮลดิ้ง นักธุรกิจชาวเมืองลิเวอร์พูลได้เช่าพื้นที่บริเวณ แอนฟิลด์ โรด เพื่อใช้สร้างสนามฟุตบอล และเมื่อสร้างเสร็จได้ให้สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน เช่าเป็นสนามแข่ง และเมื่อทีมเอฟเวอร์ตันได้เข้าสู่สมาชิกฟุตบอลลีก จอห์น โฮลดิ้ง พยายามจะเข้าไปบริหารงานในทีมเอฟเวอร์ตันและได้เพิ่มค่าเช่าสนามที่ทีมได้เช่าอยู่ ฝ่ายกลุ่มบริหารของเอฟเวอร์ตันจึงยกเลิกสัญญาเช่าสนาม และทีมเอฟเวอร์ตันได้ย้ายสนามไปอีกฝากของสวนสาธารณะ สแตนลี่ย์พาร์ค เพื่อไปสร้างสนามเป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อสนามว่า กูดีสันพาร์ก ดังนั้น จอห์น โฮลดิ้ง จึงต้องการสร้างทีมฟุตบอลขึ้นมา และ จอห์น โฮลดิ้ง จึงไปชวนเพื่อนสนิทของเขาชื่อ จอห์น แมคเคนน่า มาทำหน้าที่ประธานสโมสรและได้ตั้งชื่อทีมฟุตบอลนี้ว่า Liverpool Football Club

ยุคก่อตั้งสโมสร

          หลังจากที่สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งได้ไม่นาน ได้จัดการแข่งขัดนัดอุ่นเครื่อง ซึ่งเป็นการลงสนามนัดแรกของทีมลิเวอร์พูลกับทีมร็อตเตอร์แฮม ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมลิเวอร์พูลชนะไปด้วยผลการแข่งขัน 7-1 และลิเวอร์พูล ได้ลงแข่งขันฟุตบอลลีกของแคว้น แลงคาเชียร์ ปรากฏว่าลิเวอร์พูลลงแข่งทั้งหมด 22 นัด ชนะ 17 นัด และได้แชมป์ไปครอง ส่งผลให้ทางสโมสรสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกซึ่งได้รับการยอมรับและถูกคัดเลือกให้ลงเล่นในดีวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1893-1894 สโมสรจึงได้เลือกสัญลักษณ์ของทีมเป็น นกลิเวอร์เบิร์ด (Liverbird) ซึ่งเป็นนกแถบทะเลไอริช บริเวณแม่น้ำเมอร์ซี่ย์ โดยที่ปากนกคาบใบไม้ไว้ ทีมลิเวอร์พูลได้ลงทำการแข่งขันอย่างเป็นทางในฟุตบอลลีก ดิวิชั่น 2 ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1893 โดยทีมลิเวอร์พูลออกไปเยือนทีมมิดเดิลสโบรซ์ ไอโรโนโปลิส และทีมลิเวอร์พูลสามารถได้แชมป์มาครองโดยที่ไม่แพ้ทีมใดเลยตลอดทั้งฤดูกาล (ทั้งหมด 28 นัด) แต่การคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น 2 ในตอนนั้นยังไม่ได้เลื่อนชั้นโดยทันที ต้องไปแข่งนัดชิงดำกับทีมอันดับสองก่อน โดยทีมอันดับสองในขณะนั้นคือ ทีมนิวตัน ฮีธ (ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดในปัจจุบัน) และลงแข่งขันที่สนามของทีมแบล็คเบิร์น ซึ่งทีมลิเวอร์พูลเอาชนะทีมนิวตัน ฮีธไปด้วยผล 2-0 และได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ในที่สุด

ความรุ่งโรจน์ของสโมสร

          สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2435 และก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรแนวหน้าของอังกฤษอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 (ฤดูกาล 1900/01) และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2449 (ฤดูกาล 1905/06) ครั้งที่ 3 และ 4 เป็นแชมป์สองฤดูกาลติดใน พ.ศ. 2465 กับ พ.ศ. 2466 (ฤดูกาล 1921/22 กับ 1922/23) แชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 5 คือปี พ.ศ. 2490 (ฤดูกาล 1946/47) อย่างไรก็ตามลิเวอร์พูลพบกับช่วงตกต่ำต้องไปเล่นในในดิวิชัน 2 ในพ.ศ. 2497 (ฤดูกาล 1953/54) ภายหลังจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสโมสรในปี พ.ศ. 2502 สโมสรได้แต่งตั้ง บิลล์ แชงค์ลีย์ เป็นผู้จัดการทีม
บิลล์ แชงค์ลีย์ได้เปลี่ยนแปลงทีมไปอย่างมาก จนประสบความสำเร็จได้เลื่อนชั้นในปี พ.ศ. 2505 (ฤดูกาล 1961/62) และได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 (ฤดูกาล 1963/64) หลังจากรอคอยมานานถึง 17 ปี บิลล์ แชงค์ลีย์คว้าแชมป์ เอฟ เอคัพเป็นถ้วยแรกของสโมสรลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2508 (ฤดูกาล 1964/65) และคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 อีกครั้งในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2509 (ฤดูกาล 1965/66) ความสำเร็จของแชงค์ลีย์ยังเดินหน้าต่อไป เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่า คัพ พร้อมแชมป์ดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2516 (ฤดูกาล 1972/73) และเอฟ เอ คัพ อีกครั้งใน พ.ศ. 2517 (ฤดูกาล 1973/74) หลังจากนั้นบิลล์ แชงค์ลีย์ขอวางมือจากสโมสร โดยให้ผู้ช่วยของเขาสืบทอดตำแหน่ง ผู้จัดการทีมแทน นั่นคือ บ็อบ เพสส์ลี่

ปัญหาภายใน

          สโมสรต้องประสบกับความซบเซาในช่วงหนึ่งหลังจากได้แชมป์ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2533 คือได้เพียงเอฟ เอคัพ 1 ใบ ปีพ.ศ. 2535 กับลีก คัพ 1 ใบในปี พ.ศ. 2538 แต่ก็ฟื้นฟูขึ้นมาได้เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์บอลถ้วยทั้งในระดับประเทศและระดับทวีปถึง 3 แชมป์ (คาร์ลิ่ง ลีก คัพ, เอฟเอคัพ รวมทั้งยูฟ่า คัพ) ได้ในปี พ.ศ. 2544 (ฤดูกาล 2000/01) ในปี 2544 ลิเวอร์พูลยังคว้าถ้วยยูฟ่า ซูเปอร์คัพที่เอาชนะบาร์เยิร์น มิวนิค แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยน ลีกในปีนั้น รวมทั้งเอาชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด คู่ปรับตัวฉกาจในถ้วยแชริตี้ ชิลด์ก่อนเปิดฤดูกาลพรีเมียร์ ลีกเป็นปีที่หอมหวานปีหนึ่งของกองเชียลิเวอร์พูล นักเตะสำคัญยุคนั้นได้แก่ ไมเคิล โอเว่น, เอมิล เฮสกี้, สตีเว่น เจอร์ราร์ด,ซามี่ ฮูเปีย และยอร์น อาร์เน่ รีเซ่ เป็นต้น ทีมชุดนี้ผู้จัดการทีมคือ เชราร์ อุลลิเยร์ ชาวฝรั่งเศส ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันส่งท้ายของอุลลิเยร์คือการนำทีมลิเวอร์พูลชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 2-0 ในนัดชิงฟุตบอลลีกคัพ พ.ศ. 2546 (ฤดูกาล2002/03)
แชมป์ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งของลิเวอร์พูลคือปี 2548 ชนะในศึกยูฟ่าแชมเปี้ยนลีกเป็นครั้งที่ 5 ของสโมสร ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ตื่นตาตื่นใจครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์บอลยุโรป เมื่อลิเวอร์พูลไล่ตีเสนอทีมเอซี มิลาน เป็น 3-3 ทั้งที่โดนยิงนำไปก่อนถึง 3-0 และในที่สุดคว้าแชมป์มาได้จากการยิงจุดโทษชนะ 3-2 เป็นทีมจากอังกฤษที่ครองถ้วยยูโรเปี้ยน คัพ (ปัจจุบันคือ ยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก) มากครั้งที่สุดถึง 5 สมัย ผู้เล่นที่สำคัญในยุคนั้น อาทิ สตีเว่น เจอร์ราร์ด, ซาบี้ อลอนโซ่, ดีทมา ฮามันน์, วลาดิเมียร์ ซมิเซอร์, เจอร์ซี่ ดูเด็ค และเจมี่ คาราร์เกอร์ คุมทัพโดย ผู้จัดการทีมสัญชาติสเปน ราฟาเอล เบนิเตซ
ในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2549 (ฤดูกาล 2005/06) ลิเวอร์พูลของเบนิเตซทำให้แฟนบอลต้องลุ้นอีกครั้ง ในนัดชิงเอฟเอคัพ เมื่อต้องอาศัยลูกยิงมหัศจรรย์ของ สตีเว่น เจอร์ราร์ดในช่วงทดเวลาบาดเจ็บตีเสมอทีมเวสต์แฮมคู่ชิงแชมป์ในปีนั้นทำให้เสมอกันที่ 3-3 ต้องตัดสินแชมป์ด้วยการยิงจุดโทษอีกครั้ง และลิเวอร์พูลก็สามารถชนะไปได้ 3-1 เป็นแชมป์สำคัญรายการล่าสุดที่ลิเวอร์พูลทำได้
แต่รายการที่แฟนบอลต้องการมากที่สุดคือแชมป์ลีกของประเทศ หรือพรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน ซึ่งปีล่าสุดที่ลิเวอร์พูลคว้ามาได้คือ พ.ศ. 2533 (ฤดูกาล 1989/90) จากการคุมทีมของเคนนี ดัลกลิช ซึ่งต่อมาภายหลังดัลกลิชสามารถนำแบล็คเบิร์นค้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ในปี พ.ศ. 2538 (ฤดูกาล 1994/95)

สนามของโมสร

          สนามปัจจุบันของสโมสรคือ แอนฟิลด์ มีความจุ 45,362 คน ในขณะเดียวกันสนามใหม่กำลังถูกวางแผนก่อสร้างในชื่อ สนามสแตนลีย์พาร์ก ความจุประมาณ 60,000 อยู่ในระหว่างการเจรจาระหว่างเจ้าของและทางเอชเคเอส สำนักงานสถาปนิกอเมริกัน

สมญานาม เดอะ ค็อป

          เดอะ ค็อป เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามชื่อของเนินเขาแห่งหนึ่งใน นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งคนท้องถิ่นจะรู้จักกันในนาม สปิออน ค็อป โดยเกิดเหตุการณ์การทำสงครามบัวร์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1900 อังกฤษได้ส่งทหารไปกว่า 300 นาย โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองลิเวอร์พูล แต่แล้วในสงครามนั้นเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้นคือ อังกฤษได้เสียทหารไปเกินกว่าครึ่ง เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น นักข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ลิเวอร์พูลเดลี่โพสต์ ชื่อ เออร์เนสต์ เอ็ดเวิร์ตส์ จึงเสนอชื่อ สปิออน ค็อป ตามชื่อของเนินเขาลูกนั้น เป็นชื่อของอัฒจันทร์หลังประตูในการสร้างสนามใหม่ขึ้นมา เพื่อเป็นเกียรติในความกล้าหาญของทหารอังกฤษทั้ง 300 นาย ซึ่งต่อมาอัฒจันทร์แห่งนี้ได้กลายอัฒจันทร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกของฟุตบอลแห่งหนึ่ง. ในปี ค.ศ. 1928 ได้มีการต่อเติมอัฒจันทร์แห่งนี้ใหม่ และเมื่อใดเมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลของทีมลิเวอร์พูลขึ้น คนที่ไปดูการแข่งขันของทีมบนอัฒจันทร์จะเรียกตัวเองว่า เดอะ ค็อป (The Kop) และแล้วจากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่สนามฮิลส์โบโร่ ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเกิดการถล่มของอัฒจันทร์ขึ้น ในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพ กับ นอร์ทติ้งแฮม ฟอเรสต์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 96 คน จึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมด และนั่นเป็นการปิดฉากของอัฒจันทร์ สปิออน ค็อป อัฒจันทร์แบบยืนที่มีความยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีอัฒจันทร์ใหม่ขึ้นมาและใช้ชื่อว่า นิว ค็อป ซึ่งความหมายต่าง ๆ ยังคงเหมือนเดิม แม้ชื่ออัฒจันทร์จะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม นิว ค็อป ยังคงมีกลิ่นอายของประวัติเหล่านั้นอยู่เต็มเปี่ยม


เกียรติประวัติ

ฟุตบอลลีกดิวิชั่นหนึ่ง / เอฟเอ พรีเมียร์ลีก : 18
1901, 1906, 1922, 1923, 1947, 1964, 1966, 1973, 1976, 1977, 1979, 1980, 1982, 1983, 1984, 1986, 1988, 1990,

ฟุตบอลลีกดิวิชั่นสอง / ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ : 4
1894, 1896, 1905, 1962

เอฟเอคัพ : 7
1965, 1974, 1986, 1989, 1992, 2001, 2006

ลีกคัพ : 7
1981, 1982, 1983, 1984, 1995, 2001, 2003

ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก : 5
1977, 1978, 1981, 1984, 2005

ยูฟ่าคัพ : 3
1973, 1976, 2001

European Super Cup : 3
1977, 2001, 2005

สโมสรโลก : 0
ยังไม่เคยได้แชมป์

เอฟเอ ยูธคัพ
แชมป์ ปี 1995-96 , 2005-06 , 2006-07



Credit : th.wikipedia.org

แมนเชสเตอร์ ซิตี้



ชื่อเต็ม : Manchester City Football Club
ฉายา : City or The Blues ( เรือใบสีฟ้า )
ก่อตั้ง ค.ศ. 1894
สนาม : เดอะซิตี้ ออฟ แมนเชสเตอร์ สเตเดี้ยม ( ความจุ 47,726 คน )
ที่ตั้ง : เมืองแมนเชสเตอร์
เจ้าของสโมสร : ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน
ประธานสโมสร : คัลดูน อัล มูบารัค
ผู้จัดการทีม : โรแบร์โต้ มันชินี่



ประวัติสโมสร

          สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ในชื่อทีม “เซนต์มาร์กส์ (เวสต์กอร์ตัน) ” โดยมี แอนนา คอนเนลล์ และ ผู้ดูแลโบสถ์ เซนต์ มาร์กส์ อีก 2 คน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง

          แต่เดิม ทีมนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลกอร์ตัน ทางตะวันออก ของเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สนามใหม่ ในย่านไฮด์ โรด ของเมืองอาร์ดวิก ใกล้กับแมนเชสเตอร์ และได้เปลี่ยนชื่อทีมไปเป็น “อาร์ดวิกเอเอฟซี” ตามสถานที่ตั้ง จากนั้น อาร์ดวิก ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกอังกฤษ ในฐานะสมาชิกก่อตั้ง ในระดับดิวิชั่น 2 เมื่อปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) กระทั่งถึง ฤดูกาล 2436 - 2437 (ค.ศ. 1893 - 1894) ทีมมีปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก จนต้องมีการรื้อระบบการบริหารทีมครั้งใหญ่ และเปลี่ยนชื่อเป็น “แมนเชสเตอร์ซิตีฟุตบอลคลับ” จนถึงปัจจุบัน

          ทีมได้เริ่มต้นความยิ่งใหญ่ ด้วยการเป็นแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชั่น 2 ของอังกฤษ เป็นแชมป์แรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นขึ้นไปอยู่ใน ดิวิชั่น 1 ลีกสูงสุดของอังกฤษ (ในเวลานั้น) ก่อนจะมาได้แชมป์เอฟเอคัพ หลังเฉือนชนะ โบลตัน 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904)

          ขณะที่ผลงานกำลังไปได้ดี แต่กลับเกิดเพลิงไหม้ สนาม "ไฮด์โรด" ในปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) อัฒจันทร์หลักเสียหายอย่างมาก จนทำให้ต้องย้ายไปใช้ สนาม "เมนโรด" เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ ในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923)

          กระทั่งในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ได้ย้ายสนามเหย้าอีกครั้ง ไปที่ สนาม "ซิตีออฟแมนเชสเตอร์" ซึ่งเป็นสนามปัจจุบัน ที่มีความโอ่อ่า ทันสมัย มีความจุถึง 48,000 ที่นั่ง โดยเช่าจากสภาเมืองแมนเชสเตอร์เป็นเวลาถึง 250 ปี และใช้เงินอีกราว 35 ล้านปอนด์ ในการปรับปรุงสนาม หลังจากใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ ในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)

          การย้ายมาใช้สนามเหย้าแห่งใหม่ ทำให้สามารถรองรับแฟนบอลได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นทีมที่มีแฟนบอลมากเป็นพิเศษ และติดตามเชียร์อย่างเหนียวแน่นมาตลอด แม้ทีมจะตกลงไปสู่ดิวิชั่นต่ำๆ ในหลายครั้งก็ตาม ปัจจุบัน ทีมมียอดผู้ชมในนัดเหย้า เฉลี่ยกว่า 39,000 คน ต่อนัด และคาดว่าจะมีชาวอังกฤษไม่ต่ำกว่า 400,000 คน และคนทั่วโลก อีกกว่า 2 ล้านคน ที่เป็นแฟนบอลของทีม

          นับตั้งแต่ก่อตั้งทีม กว่า 1 ศตวรรษ มีเกียรติยศที่บันทึกไว้ คือ เป็นแชมป์ลีกสูงสุด 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) และ พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) แชมป์เอฟเอคัพ 4 สมัย แชมป์ลีกคัพ 2 สมัย และ เป็นแชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ อีก 1 สมัย

          ในยุคที่นับว่ารุ่งเรืองที่สุด คือ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2500เรื่อยมา เนื่องจากทีมชุดนี้ สามารถขึ้นไปถึงตำแหน่งแชมป์ได้หลายรายการ โดยมี โจ เมอร์เซอร์ เป็นผู้จัดการทีม และ มัลคอล์ม อัลลิสสัน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม รวมถึง มียอดนักเตะชื่อดังมากมาย อาทิ โคลิน เบลล์

          แต่หลังจากเป็นแชมป์ลีกคัพ ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) พวกเขาก็ไม่ได้ขึ้นถึงตำแหน่งแชมป์ ในรายการสำคัญอีกเลย และยังมีผลงานไม่ค่อยดีนักมาตลอด โดยเฉพาะ ในช่วงปี พ.ศ. 2530 พวกเขาต้องตกชั้น 2 ครั้ง ในรอบ 3 ปี จนลงไปอยู่ใน ดิวิชั่น 3 เดิม อยู่ถึง 1 ปี

          อย่างไรก็ตาม ทีมก็สามารถกลับขึ้นมาสู่ลีกสูงสุด และยังคงรักษาตัวไว้ได้อย่างมั่นคง แม้ผลงานของทีม มักอยู่ในช่วงกลางตาราง ค่อนไปทางท้ายก็ตาม โดยจบ ฤดูกาล 2006-2007 ในอันดับที่ 14 ของพรีเมียร์ลีก

ทีมร่วมเมือง

          มีทีมคู่แข่งร่วมเมือง คือ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่มีที่มาในการเป็นคู่แข่ง แตกต่างกับ สโมสรฟุตบอลร่วมเมืองทีมอื่นๆ เช่น เมืองกลาสโกว์ (เรนเจอร์ส กับ เซลติก) ที่มีความแตกต่างในด้านการเมืองและศาสนา
ส่วนในกรณีของ ซิตี และ ยูไนเต็ด นั้น มีต้นเหตุมาจาก ในสมัยก่อน เกิดความยากลำบากในการเดินทางไปมาหาสู่กัน แม้ทุกวันนี้ จะเดินทางได้ด้วยความสะดวกสบายแล้ว แต่ก็สายเกินไป ที่จะกลับมาญาติดีต่อกันได้
อีกประการหนึ่ง คือ แฟนบอลชาวอังกฤษของ ซิตี ส่วนมากอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ส่วนแฟนของ ยูไนเต็ด มีไม่น้อยที่อยู่เมืองอื่นด้วย

ผลงานปัจจุบัน

          ฤดูกาล 2007-2008 ที่ผ่านมา หลังจากเพียร์ซถูกปลดจากตำแหน่งผู้จัดการทีม สเวน โกรัน อีริคส์สันก็เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมแทน ภายหลังลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษครบ 1 ปี ซิตี้ชนะใน 3 นัดแรกของฤดูกาล ซึ่งรวมถึงดาร์บี้แมตช์กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และไม่เสียประตูเลยสักประตูเดียว แต่สุดท้ายแล้วแพ้ในนัดที่สี่ที่พบกับอาร์เซนอล อย่างไรก็ตาม ผลงานของทีมที่บ้านดีมากโดยไม่แพ้ใครติดต่อกัน 10 นัดโดยเริ่มจากนัดที่ชนะดาร์บี เคานตี้ ในวันที่ 15 สิงหาคม ก่อนที่จะมาแพ้ทอตแน่ม ฮอตสเปอร์ 0-2 ในฟุตบอลคาร์ลิงคัพในวันที่ 18 ธันวาคม หรือ 4 เดือนต่อมานั่นเอง หลังจากนั้นก็สามารถย้ำแค้นแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้อีกครั้ง แต่หลังจากนั้นผลงานของทีมดูต่ำกว่าครึ่งแรกของฤดูกาลมาก และเมื่อจบฤดูกาล พตท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ปลด สเวน โกรัน อีริคส์สันออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม นำมาซึ่งการคัดค้านอย่างรวดเร็วจากแฟนๆของซิตี้ แต่ถึงแม้ว่านัดสุดท้ายจะบุกไปแพ้มิดเดิลสโบรย่อยยับถึง 8-1 ก็ยังได้สิทธิ์ผ่านการคัดเลือกเข้าไปเล่นยูฟ่า คัพในฤดูกาล 2008/2009 จากการที่ได้อันดับดีที่สุดในตารางแฟร์เพลย์ของพรีเมียร์ลีก ก่อนโดนปลด อีริคส์สันได้พาทีมไปทัวร์ที่ประเทศไทยและเกาะฮ่องกง ประเทศจีนเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และโดนปลดในวันที่ 2 มิถุนายน 2551 และมาร์ค ฮิวจ์ส ผู้จัดการทีมสโมสรแบล็คเบิร์น โรเวอร์ส เข้ามารับตำแหน่งแทนในสองวันถัดมา

          ในส่วนของการแข่งขันนัดแรกของฤดูกาล 2008-09 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม นั้น สโมสรแพ้สโมสรฟุตบอลแอสตั้น วิลล่า 4:2 ในเกมเยือน ที่สนามวิลลา พาร์ค โดยประตูแรกมาจากฝั่งของเจ้าถิ่น ในนาทีที่ 47 จากจอห์น คาริว หลังจากนั้นเอลาโน่ บลูแมร์ตีเสมอให้แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จากลูกโทษที่จุดโทษนาที่ที่ 64 จากนั้นกาเบรียล อักบอนลาฮอร์มาซัดแฮตทริกในนาที่ที่ 67,74 และ 75 และเวดราน ชอร์ลูก้า มายิงตีตื้นให้แมนเชลเตอร์ ซิตี้เป็น 4:2 ในนาที 89

          สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ได้ประสบความสำเร็จในการเล่นรอบคัดเลือกยูฟ่า คัพ รอบแรกโดยการชนะ สโมสรฟุตบอลอีบี/สเตรย์เมอร์จากหมู่เกาะแฟโรห์ 2-0 (หลังจากชนะในนัดแรก 0-2) และชนะ สโมสรฟุตบอลมิดทิลแลนด์จากเดนมาร์ก 0-1 (หลังจากแพ้ในนัดแรก 0-1) แต่ชนะในการดวลจุดโทษ 4-2 ในรอบแรกนั้นสามารถชนะโอโมเนีย นิโคเซียจากไซปรัส 2-1 (หลังจากชนะในนัดแรก 2-1) ในรอบแบ่งกลุ่มได้อยู่ในกลุ่มเอร่วมกับ สโมสรฟุตบอล ชาลเก้ 04จากเยอรมัน สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมงจากฝรั่งเศส สโมสรฟุตบอลราซิ่ง ซานตานเดร์จากสเปน และ สโมสรฟุตบอลเอฟซี ทเวนเต้จากเนเธอร์แลนด์ส และสามารถเอาชนะ สโมสรฟุตบอลเอฟซี ทเวนเต้ 3-2 ชนะ สโมสรฟุตบอล ชาลเก้ 04ชนะ 2-0 เสมอ สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง 0-0 และแพ้ สโมสรฟุตบอลราซิ่ง ซานตานเดร์ 3-1 และในรอบ 32 ทีมสุดท้าย ได้พบกับ สโมสรเอฟซี โคเปนเฮเกนจากเดนมาร์ก นัดแรกที่เดนมาร์ก ผลออกมาเสมอ 2-2 และนัดที่ 2 ที่อีสต์แลนด์ สามารถเอาชนะไปได้ 2-1 เข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายเจอกับ สโมสรอัลบอร์ก บีเค จากเดนมาร์กซึ่งเป็นการเจอกับทีมที่มาจากเดนมาร์กเป็นครั้งที่ 3 ของฤดูกาลนี้ ซึ่งก็สามารถเอาชนะได้ในนัดแรก 2-0 และบุกไปแพ้ 2-0 ทำให้ต้องตัดสินด้วยการต่อเวลาและการยิงจุดโทษ ซึ่ง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ก็สามารถเอาชนะไปได้ 4-2 เข้ารอบก่องรองชนะเลิศพบกับ สโมสรฟุตบอลฮัมบวร์ก จากเยอรมัน ซึ่งบุกไปแพ่ก่อน 3-1 แต่ก็ทำได้แค่เฉือนชนะ 2-1 ที่อีสต์แลนด์ ทำให้ต้องออกจากการแข่งขันยูฟ่า คัพ ฤดูกาล 2008/09 โดยจบฤดูกาลทีมจบด้วยอันดับ 10ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานทั้งที่มีนักเตะชั้นนำอย่าง โรบิญโญ่,ฌอณ ไรท์ ฟิลลิปส์,เคร็ก เบลลามี่,โชและเชย์ กิฟเว่น โดยก่อนฤดูกาล2009/2010จะเริ่มต้นทีมสามรถเซ็นสัญญานักเตะอย่างเอ็มมานูเอล อเดบายอร์และโคโล ตูเร่ จากอาร์เซนอล ,คาร์ลอส เตเวซ ,ซิลวิญโญ่,โรเก้ ซาตตาครูซ,แกเร็ธ แบร์รี่และโจลีออน เลสค็อต ทำให้ทีมเริ่มต้นอย่างยอดเยี่ยมก่อนที่ฟอร์มจะเริ่มตกสโมสรจึงมีมติปลดมาร์ค ฮิวส์ ออกจากตำแหน่งเนื่องจากทีมไม่มีแววได้ติดท็อปโฟว์ทั้งที่ใช้เงินไปร่วม200 ล้านปอนด์ตลอดการคุมทีม และเป็นโรแบร์โต้ มันชินี่ อดีตผู้จัดการทีมอินเตอร์ มิลาน เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ทีมก็พลาดเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลคาร์ลิ่ง คัพ โดยแพ้คู่ปรับอย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดพร้อมกับถูกสโต๊คเขี่ยตกรอบฟุตบอลเอฟเอ คัพ ทั้งที่ในช่วงตลาดนักเตะได้ทำการซื้อนักเตะอย่างปาทริค วิเอร่า อดีตกองกลางอาร์เซนอลและอดัม จอห์นสัน ปีกดาวรุ่ง


เกียรติประวัติ
(ระบุเป็นปีพุทธศักราช)

ดิวิชั่นหนึ่ง/พรีเมียร์ลีก (ลีกชั้นที่1)
ชนะเลิศ : 2479-80, 2510-11
รองชนะเลิศ : 2446-47, 2463-64, 2519-20

ดิวิชั่นสอง/ดิวิชั่นหนึ่ง
(ลีกชั้นที่2)
ชนะเลิศ : 2441-42, 2445-46, 2452-53, 2470-71, 2489-90, 2508-09, 2544-45 (สถิติทีมชนะเลิศมากที่สุด 7 สมัย)
รองชนะเลิศ : 2438-39, 2493-94, 2531-32, 2542-43

ดิวิชั่นสอง
(ลีกชั้นที่3)
ชนะเลิศ เพลย์ออฟ : 2541-42

เอฟเอ คัพ
ชนะเลิศ : 2447, 2477, 2499, 2512
รองชนะเลิศ : 2469, 2476, 2498, 2524

ลีกคัพ
ชนะเลิศ : 2513, 2519
รองชนะเลิศ : 2517

ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ
ชนะเลิศ : 2513

เอฟเอ คอมมิวนิตี้ ชิลด์/แชริตี้ ชิลด์
ชนะเลิศ : 2480, 2511, 2515
รองชนะเลิศ : 2477, 2499, 2512, 2516

ฟูล เม็มเบอร์ส คัพ
รองชนะเลิศ : 2529


Credit : th.wikipedia.org

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด



ชื่อเต็ม : Manchester United Football Club
ฉายา : The Red Davils ( ปิศาจแดง )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1878
สนาม : โอลด์แทรฟฟอร์ด ( ความจุ 76,212 คน )
ที่ตั้ง : เมืองแมนเชสเตอร์
เจ้าของสโมสร : มัลคอล์ม เกลเซอร์
ประธานสโมสร : มาร์ติน เอ็ดเวิดส์
ผู้จัดการทีม : เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน



ประวัติสโมสร

สโมสรในช่วงแรก (1878-1945)

          สโมสรในช่วงแรก (1878-1945) สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก่อตั้งโดยกลุ่มพนักงานกรรมกรในเหมืองแร่ถ่านหินในเมืองแมนเชสเตอร์ โดยในตอนแรกนั้นเป็นเพียงแค่สโมสรชั้นต่ำที่ทำการแข่งขันกันระหว่างคนงานด้วยกัน ต่อมามีพนักงานคนหนึ่งชื่อ J.C. Kuya เป็นคนผิวดำ มีเชื้อชาติแอฟริกัน ได้ออกมาประกาศว่าสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจะก้าวไปเป็น 1 ในสโมสรที่ดีที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจากคำพูดนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างมากภายในกลุ่มคนงานด้วยกัน เนื่องจาก Kuya นั้น เป็นเพียงแค่ตัวสำรองในทีมซะเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับกล้าออกความเห็นในที่สาธารณะ ซึ่งควรจะเป็นสิทธิของคนที่เป็นกัปตันทีม ซึ่งในขณะนั้น คือ Donny Dever ชาวอังกฤษโดยกำเนิด มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบเมืองลิเวอร์พูล แต่เนื่องจากตกงานเป็นเวลานานจึงระหกระเหเร่ร่อนออกมาเป็นคนงานเหมืองแร่ในแถบเมืองแมนเชสเตอร์ ความขัดแย้งในครั้งนี้รุนแรงมากถึงขนาดมีการแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนขาว นำโดย Dever และกลุ่มคนดำ นำโดย Kuya ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สโมสรเลยทีเดียว โดยมีผู้เสียชีวิตมากเกือบร้อยคน แต่เรื่องนี้กลับถูกปิดเป็นความลับที่มีน้อยคนนักที่ได้รู้ ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969) แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกใน


ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969)

          แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกในปี 1947 และชนะเลิศเอฟเอ คัพในปีต่อมา
บัสบี้เป็นคนที่ดึงนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาหลายคน จนได้แชมป์ลีกในปี 1956 ด้วยอายุเฉลี่ยของนักเตะเพียง 22 ปีเท่านั้น ในปีต่อมา เขาก็ได้พาทีมเป็นแชมป์ลีกอีกครั้ง และยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวโดยการแพ้ต่อแอสตัน วิลลา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นทีมแรกของอังกฤษที่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ และยังได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกด้วย
ในปี 1958 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของสโมสร เมื่อเครื่องบินที่บรรทุกนักเตะและทีมงานของสโมสร ที่กลับจากการไปแข่งขันยูโรเปียนคัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับทีมเรดสตาร์ เบลเกรด ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศแล้วได้ประสบอุบัติเหตุที่สนามบินในเมืองมิวนิค หลังจากแวะพักเครื่องบินที่เมืองมิวนิค ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง เหตุการณ์ครั้งนั้นได้คร่าชีวิตนักเตะของทีมไปถึง 8 คน รวมถึงทีมงานสต๊าฟโค้ชและผู้โดยสารคนอื่นอีก 15 คน รวมเป็น 23 คน หนึ่งในคนที่เสียชีวิตในครั้งนี้ คือ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด นักเตะดาวรุ่งพรสวรรค์สูงสุดในขณะนั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้คาดว่าจะเป็นจุดตกต่ำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จิมมี เมอร์ฟีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงที่บัสบี้กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ และใช้ตัวผู้เล่นแก้ขัดไปหลายตำแหน่ง แต่ทีมก็ยังสามารถเข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพได้อีกครั้ง โดยครั้งนี้พ่ายต่อโบลตันทำให้ได้เพียงรองแชมป์เท่านั้น
หลังจากรักษาตัวเองแล้ว บัสบี้ได้ปรับปรุงทีมในช่วงต้นของทศวรรษ 60 โดยการเซ็นสัญญาคว้านักเตะอย่าง เดนิส ลอว์ กับ แพท ครีแลนด์มาเสริมทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็ชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอ คัพในปี 1963 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกในปี 1965 และ 1967 นอกจากนี้ ยังได้แชมป์ฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพเป็นสโมสรแรกของอังกฤษในปี 1968 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี เท่านั้นหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่มิวนิค ที่ทำให้ทีมต้องสูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปถึง 8 คน และจากความยอดเยี่ยมของทีมชุดนี้ ทำให้มีนักเตะ 3 คนด้วยกัน ที่สามารถคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของยุโรป (บัลลงดอร์) ได้แก่เดนิส ลอว์ ได้รับรางวัลในปี 1964 คนที่สองคือบ๊อบบี้ ชาร์ลตันได้รับในปี 1966 หลังจากพาทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกและครั้งเดียวของพวกเค้า และจอร์จ เบสต์ได้รับรางวัลในปี 1968 หลังจากโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมพาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโรเปียน คัพเป็นครั้งแรกของสโมสรและครั้งแรกของอังกฤษ
บัสบี้ได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในปี 1969 โดยมีวิฟ แมคกินเนสโค้ชทีมสำรองทำหน้าที่แทน


1969-1986

          สโมสรได้พยายามหาตัวแทนที่เหมาะสมของบัสบี โดยใช้ผู้จัดการทีมไปหลายคน ได้แก่ วิฟ แมคกิวเนส, แฟรงค์ โอนีล ก่อนที่ ทอมมี โดเคอร์ตี้เข้ามาคุมทีมในปี 1972 เขาได้ช่วยทีมให้รอดจากการตกชั้น แต่อย่างไรก็ดี ทีมก็ได้ตกชั้นลงไปในปี 1974 แต่สโมสรก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในปีถัดไป และยังได้เข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพในปีต่อมาอีกด้วย จากนั้นก็ได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี 1977 โดยครั้งนี้สามารถคว้าแชมป์ได้โดยการเอาชนะทีมลิเวอร์พูล เป็นการดับความหวังการคว้าสามแชมป์ในปีเดียวกันของหงส์แดงลงไป ถึงเขาจะทำหน้าที่ได้ดี แต่ก็ถูกไล่ออกหลังจากรอบชิงชนะเลิศปีนั้นเนื่องจากมีข่าวพัวพันกับภรรยาของนักกายภาพบำบัด
เดฟ เซกซ์ตันได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมต่อในฤดูกาล 1977-1978 และเปลี่ยนระบบการเล่นของทีมให้เน้นเกมรับมากขึ้น ระบบนี้ทำให้แฟนบอลไม่ค่อยพอใจมากนัก หลังจากทำทีมไม่ประสบความสำเร็จ เขาถูกไล่ออกในปี 1981
รอน แอคคินสันได้เข้ามาทำหนาที่นี้แทน เมื่อเขาเข้ามาก็ได้ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดของอังกฤษโดยการคว้าตัวไบรอัน ร็อบสัน มาจากเวสต์บรอมวิช รวมถึง การคว้าตัว เจสเปอร์ โอลเซน และกอร์ดอน สตรัคคั่น ในขณะที่มีนักเตะอย่างมาร์ค ฮิวจส์ และนอร์แมน ไวท์ไซด์ที่ขึ้นมาจากทีมเยาวชนของสโมสร แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้แชมป์เอฟเอ คัพในปี 1983
ปี 1985 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำผลงานได้ดีในช่วงเปิดฤดูกาลโดยการชนะ 10 นัดรวด ทำให้มีคะแนนนำทีมอื่นถึง 10 คะแนนตั้งแต่ต้นฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทีมทำผลงานได้ไม่ดีและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 ของลีก ผลงานในปีต่อมาก็ไม่ได้ดีขึ้น ทีมต้องหนีการตกชั้น ทำให้รอน แอคคินสันถูกไล่ออกไป


ยุคของ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (1986-ปัจจุบัน)

          อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้เข้ามาคุมทีมต่อ โดยในฤดูกาลแรกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 แต่ในปีต่อมาก็ได้อันดับสองโดยไบรอัน แมคแคลร์ทำประตูได้ถึง 21 ประตู เป็นคนแรกของทีมหลังจากที่จอร์จ เบสต์เคยทำได้มาก่อนหน้านี้
ในปี 1989 เฟอร์กูสันเกิดความยากลำบากในการคุมทีมขึ้น เนื่องจากตัวผู้เล่นหลายตัวที่เขานำเข้ามาในทีมไม่เป็นที่พอใจของแฟนบอล มีข่าวออกมาว่าสโมสรจะปลดเฟอร์กี้ออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงต้นปี 1990 แต่การชนะนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์ในรอบสาม ของเอฟเอ คัพ ก็ทำให้เขาสามารถคุมทีมต่อไปได้ จนคว้าแชมป์เอฟเอ คัพได้ในปีนั้น เป็นแชมป์แรกให้กับเขาในการคุมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ฤดูกาล 1990-91 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์คัพ วินเนอร์ส คัพ โดยการเอาชนะบาร์เซโลนา จากสเปน ในนัดชิงชนะเลิศ แต่ปีต่อมาทีมทำผลงานไม่ดีนักในพรีเมียร์ลีก
สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนเมื่อปี 1991 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 18 ล้านปอนด์ จากนั้น สโมสรต้องเปิดเผยข้อมูลการเงินทั้งหมดสู่สาธารณะ
เอริค คันโตนาย้ายจากลีดส์ ยูไนเต็ดมาร่วมทีมเมื่อปี 1992 ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมเป็นอย่างมาก ทำให้ทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนั้นทันที ซึ่งนับเป็นแชมป์ลีกหนแรกในรอบ 26 ปี นับจากที่ได้มาครั้งล่าสุดในปี 1967 ปีต่อมา ทีมได้ดับเบิลแชมป์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่ในปี 1994 นั้นเอง แมตต์ บัสบี้ ตำนานกุนซือของได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม
ฤดูกาล 1994-95 คันโตนาถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษห้ามแข่งถึง 8 เดือน หลังจากที่ไปกระโดดถีบใส่แมทธิว ซิมมอนส์ แฟนบอลคริสตัล พาเลซ ปีนั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รองแชมป์ทั้งพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ เฟอร์กูสันได้กระทำสิ่งที่ขัดใจแฟนบอลของทีมอีกครั้ง ด้วยการขายนักเตะสำคัญของทีมและดันนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาเล่นแทน แต่ปีนั้นทีมก็สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้อย่างน่ายกย่อง โดยเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้เป็นสมัยที่สองซึ่งเว้นจากครั้งแรกที่ได้ดับเบิ้ลแชม์ในปี 1994 เพียงปีเดียว และสามารถที่จะลบคำสบประมาทที่ถูกปรามาสเอาไว้ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จใดๆได้ จากการผลักดันเด็กเยาวชนของทีมให้ขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่
สโมสรคว้าแชมป์ลีกอีกครั้งในปี 1997 จากนั้น เอริค คันโตนาได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลด้วยวัยเพียง 30 ปีซึ่งเร็วกว่านักเตะคนอื่นๆ มาก ฤดูกาลทีมยังเริ่มต้นการแข่งขันได้ดี แต่มีปัญหาอาการบาดเจ็บรบกวนมามากจนทำให้จบฤดูกาลได้เพียงอันดับสองเท่านั้น
ปี 1998-99 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าทริปเปิลแชมป์ ซึ่งประกอบด้วยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟา แชมเปี้ยนส์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกันอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก โดยในนาทีสุดท้ายของเกมนั้น ทีมยังตามหลังบาเยิร์น มิวนิกอยู่ 1-0 แต่แล้วในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ 3 นาทีนั้น ทีมสามารถทำได้ถึงสองประตูพลิกกลับมาชนะ 2-1 ได้อย่างเหลือเชื่อจากเท็ดดี้ เชอริงแฮม และ "เพชรฆาตหน้าทารก" โอเล่ กุนนาร์ โซลชา
จากการคว้าสามแชมป์ ทำให้อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้รับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบถที่ 2 เป็นท่านเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อตอบแทนผลงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ได้รับตำแหน่งท่านเซอร์คนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยผู้ที่ได้รับคนแรกคือ เซอร์แมตต์ บัสบี้ คนที่สองคือ เซอร์บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ตำนานของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หลังจากคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาล 1999-2000 ถึง 2000-2001 ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการฟุตบอลอังกฤษโดยการแชมป์ลีก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นทีมทึ่ 2 ที่ทำได้ (ทีมที่ทำได้ก่อนหน้าคือลิเวอร์พูล) และในช่วงนั้นยูไนเต็ดได้คว้าตัวนักเตะสำคัญคือ กองหน้าชาวดัตช์ รุด ฟาน นิสเตลรอย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น 1 ในตำนานสโมสรที่ลงสนาม 220 นัด และยิงได้ถึง 150 ประตู และริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลังที่มีค่าตัวสูงถึง 30 ล้านปอนด์
แต่อย่างไรก็ดี ในปี 2001-2006 ยูไนเต็ดได้ประสบปัญหาหลายอย่าง อย่างแรกคือสโมสรไม่สามารถหาผู้รักษาประตูที่เป็นตัวตายตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล ได้ สโมสรได้เปลี่ยนผู้รักษาประตูมือ 1 หลายคน ไม่ว่าจะเป็นมาร์ค บอสนิช, ไรมอนด์ ฟาน เดอ ฮาว, มัสซิโม่ ตาอิบี้, พอล ราชุบก้า, แอนดี้ กอแร่ม, ฟาเบียง บาร์กเตซ, ทิม โฮเวิร์ด, รอย คาโรล, และ ริคาร์โด้ โลเปซ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือมีผู้เล่นที่เป็นกำลังหลักจำนวนมากได้ออกจากสโมสรไม่ว่าจะเป็นยาป สตัม, เดวิด เบ็คแฮม, รอย คีน กัปตันทีม, หรือแม้กระทั่งรุด ฟาน นิสเตลรอย โดยมีสาเหตุมาจากการมีปัญหากับเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ทั้งสิ้น ในช่วง 5 ปีนี้ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกเพียงครั้งเดียว (ฤดูกาล 2002-2003) และได้ถ้วยรางวัลอื่นๆ อีก 2 รายการ คือ เอฟเอคัพ (2003-2004) และ ลีกคัพ (2005-2006) เท่านั้น โดยใน 2 ฤดูกาลหลัง เชลซีได้เข้ามามีบทบาทเด่นในฟุตบอลลีกเนื่องมาจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสรของ โรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทำให้เชลซีมีงบประมาณซื้อตัวผู้เล่นไม่จำกัดและคว้าแชมป์ลีก 2 ปีติดต่อกัน
ต่อมาในปี 2006-2008 อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ผ่าตัดทีมใหม่อีกครั้ง โดยมีแกรี่ เนวิลล์ เป็นกัปตันทีมคนใหม่ที่รับตำแหน่งกัปตันแทน รอย คีน 11 ผู้เล่นของยูไนเต็ดมีความลงตัวกว่าปีที่ผ่านๆ มา ผู้เล่นที่โดดเด่นมี เอ็ดวิน ฟาน เดอ ซาร์ ผู้รักษาประตูทีมชาติฮอลแลนด์ที่เป็นตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล และกองหลังมีเนมานย่า วิดิช ผู้เล่นยอดเยี่ยมของเซอร์เบียแอนด์มอนเตเนโกร และริโอ เฟอร์ดินานด์กองหลังค่าตัว 30 ล้านปอนด์เป็นแกนกลาง, ปีกซ้ายขวามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ปีกดาวรุ่งโปรตุเกสที่สืบทอดเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากเดวิด เบ็คแฮม และนานี่ ปีกดาวรุ่งผู้เป็นตัวแทนของไรอัน กิ๊กส์ และกองหน้ามี เวย์น รูนี่ย์ ดาวยิงประตูที่มีค่าตัวถึง 27 ล้านปอนด์เป็นกำลังหลัก อเล็กซ์เฟอร์กูสันได้กล่าวว่าทีมชุดนี้เป็นชุดที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชุดปี 1999, ซึ่งทีมชุดนี้สามารถนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไล่ล่าความสำเร็จอีกครั้ง โดยการคว้าแชมป์ลีก 3 ปีติดต่อกันในปี 2006-2009 และการคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล 2007-2008


การเทคโอเวอร์ของมัลคอล์ม เกลเซอร์

          ในวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (2005) มัลคอล์ม เกลเซอร์ นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกาสามารถครอบครองในสโมสรเกินร้อยละ 70 หลังจากบรรลุข้อตกลงซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นเจ. พี. แมกมานัส และจอห์น แมกเนียร์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ร้อยละ 28.7 จาก และแฮร์รี่ ดอบสัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับสามชาวสกอต ในวันที่ 16 พฤษภาคม เกลเซอร์ครอบครองหุ้นเกินร้อยละ 75 ซึ่งทำให้เขาสามารถนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ได้ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถูกนำออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในวันที่ 22 มิถุนายน เกลเซอร์สามารถครอบครองหุ้นร้อยละ 98 เป็นผลสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งเกินระดับที่กำหนดให้บังคับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ มัลคอล์ม เกลเซอร์แต่งตั้งลูกชายสามคนของเขาเข้าในคณะกรรมการบริหาร ผู้สนับสนุนจำนวนมากไม่พอใจการเข้าครอบครองกิจการของเกลเซอร์


เกียรติประวัติ

ฟุตบอลลีกดิวิชั่นหนึ่ง/เอฟเอ พรีเมียร์ลีก : 18
1907-08, 1910-11, 1951-52, 1955-56, 1956-57, 1964-65, 1966-67, 1992-93, 1993-94, 1995-96, 1996-97, 1998-99, 1999-2000, 2000-01, 2002-03, 2006-07, 2007-08, 2008-09

ฟุตบอลลีกดิวิชั่นสอง : 2
1935-36, 1974-75

เอฟเอคัพ : 11
1909, 1948, 1963, 1977, 1983, 1985, 1990, 1994, 1996, 1999, 2004

ลีกคัพ : 4
1992, 2006, 2009, 2010

ยูโรเปี้ยนคัพ/ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก : 3
1968, 1999, 2008

ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ : 1
1991

อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ : 1
1999

ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ : 1
2008

ยูโรเปี้ยนซูเปอร์คัพ : 1
1991

แชริตี้ชิลด์/คอมมูนิตี้ชิลด์ : 17 (13 แชมป์เดี่ยว, 4 แชมป์ร่วม*)
1908, 1911, 1952, 1956, 1957, 1965*, 1967*, 1977*, 1983, 1990*, 1993, 1994, 1996, 1997, 2003, 2007, 2008

BBC Sports Personality of the Year Team Award
1968 & 1999


Credit : th.wikipedia.org

นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด



ชื่อเต็ม : Newcastle United Football Club
ฉายา : Magpine( สาลิกาดง )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1892
สนาม : เซนต์เจมส์พาร์ค ( ความจุ 52,387 คน )
ที่ตั้ง : เมืองนิวคาสเซิล อัพพอน ไทน์
เจ้าของ : ไมค์ แอชลีย์
ประธาน : ดีเร็ค แลมเบียส
ผู้จัดการ : คริส ฮิวส์ตัน



ประวัติสโมสร

          ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1881 ทีมคริกเก็ตสแตนลีย์ได้ตัดสินใจตั้งทีมฟุตบอลขึ้น เพื่อลงเล่นในช่วงที่ฤดูกาลแข่งขันคริกเก็ตปิดตัวลงในฤดูหนาว พวกเขาชนะเกมแรกที่ลงแข่งขันด้วยสกอร์ 5-0 โดยมีคู่แข่งเป็นทีมเอลสวิกเลเธอร์เวิร์คส์ชุดสำรอง หนึ่งปีต่อมา ทีมก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลอีสท์เอนด์

          ขณะเดียวกัน ทีมคริกเก็ตอีกทีมหนึ่งในย่านเดียวกันก็ได้เริ่มสนใจที่จะตั้งทีมฟุตบอล จนกระทั่งมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลเวสท์เอนด์ขึ้น ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1882 โดยในช่วงแรกนั้น พวกเขาใช้สนามคริกเก็ตเดิมเป็นสนามเหย้า ก่อนที่จะย้ายไปลงเตะในเซนต์เจมส์พาร์ค

          หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งฟุตบอลลีกท้องถิ่นขึ้นในปี ค.ศ. 1889 การที่มีลีกอาชีพในบริเวณใกล้เคียงให้ลงเตะ ประกอบกับความสนใจในถ้วยเอฟเอคัพ ทำให้นิวคาสเซิลอีสท์เอนด์เปลี่ยนจากทีมสมัครเล่นมาเป็นทีมอาชีพในปีเดียวกันนั้นเอง แต่ทว่าทางฝั่งนิวคาสเซิลเวสท์เอนด์กลับล้มเหลวที่จะตามรอยทีมเพื่อนบ้านสู่สถานะทีมฟุตบอลอาชีพ จนกระทั่งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1892 ผู้บริหารของนิวคาสเซิลเวสท์เอนด์ได้ตัดสินใจที่จะขอเข้าควบกิจการกับนิวคาสเซิล อีสท์ เอนด์ เพื่อมิให้ทีมต้องยุบตัวลงโดยสิ้นเชิง

          การควบกิจการเป็นไปด้วยดี ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1892 ชื่อ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ก็ถูกเลือกให้เป็นชื่อใหม่ของทีม

          นิวคาสเซิลสามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศมาครองได้ถึงสามสมัยในช่วงทศวรรษ 1900s และยังเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพถึง 5 ครั้งใน 7 ฤดูกาล แต่สามารถเป็นแชมป์ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในปี 1910 หลังจากเอาชนะบาร์นสลีย์ไปได้ในการเตะนัดรีเพลย์ที่กูดิสันพาร์ค

          หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง พวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกสมัยโดยการเอาชนะแอสตัน วิลลาในรอบชิงชนะเลิศที่สนามเวมบลีย์ นอกจากนั้น นิวคาสเซิลยังเป็นแชมป์ลีกได้อีกหนึ่งสมัยในปี 1927 อีกด้วย

          ในช่วงทศวรรษ 1950s นิวคาสเซิลเป็นแชมป์เอฟเอคัพถึง 3 สมัยในช่วงเวลา 5 ปี โดยเอาชนะแบล็กพูล 2-0 ในปี 1951 ชนะอาร์เซนอล 1-0 ในปี 1952 และชนะแมนเชสเตอร์ ซิตี 3-1 ในปี 1955 โดยทีมนิวคาสเซิลในยุคนั้น มีผู้เล่นชื่อดังอยู่หลายคนด้วยกัน เช่น แจคกี มิลเบิร์น, บ็อบบี มิทเชลล์, และสแตน เซมัวร์

          หลังจากตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชันสองอยู่ชั่วขณะ นิวคาสเซิลที่นำโดยผู้จัดการทีม โจ ฮาร์วีย์ ก็ได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดในปี 1965 แต่ทว่าฟอร์มของพวกเขาหลังจากนั้นไม่สม่ำเสมอนัก

          ทีมของฮาร์วีย์สามารถทำอันดับผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลถ้วยยุโรปครั้งแรกในปี 1968 ก่อนจะคว้าแชมป์ถ้วยอินเตอร์-ซิตีส์ แฟร์ส คัพ (หรือถ้วยยูฟ่าคัพในปัจจุบัน) ไปครองอย่างเหนือความคาดหมายในปีถัดมา โดยสามารถเอาชนะทีมใหญ่ในยุโรปของยุคนั้นไปได้หลายราย ไม่ว่าจะเป็นสปอร์ติง ลิสบอน, เฟเยนูร์ด รอตเตอร์ดัม หรือ รีล ซาราโกซา และปิดท้ายด้วยการคว่ำทีมอุจเพสท์จากฮังการีในรอบชิงชนะเลิศ

          นับตั้งแต่ก่อตั้งทีมมา นิวคาสเซิลมักจะมอบเสื้อหมายเลข 9 ให้แก่ผู้เล่นกองหน้าชื่อดังประจำทีม โดยประเพณีนี้ยังคงตกทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับในช่วงเวลานั้น ผู้เล่นที่ได้ใส่เสื้อหมายเลข 9 มีหลายคนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น วิน เดวีส์, ไบรอัน ร็อบสัน, บ็อบบี มอนเคอร์ หรือ แฟรงค์ คลาร์ก

          หลังจากประสบความสำเร็จในฟุตบอลสโมสรยุโรป ฮาร์วีย์ก็ได้ดึงตัวผู้เล่นเกมรุกชื่อดังมากมายเข้ามาร่วมทีม นับตั้งแต่ จิมมี สมิธ, โทนี กรีน และเทอร์รี ฮิบบิทท์ ไปจนถึงยอดศูนย์หน้าอย่าง มัลคอล์ม แมคโดแนลด์ เจ้าของฉายา 'ซูเปอร์แมค' ผู้เป็นหนึ่งในตำนานของสโมสร แมคโดแนลด์พานิวคาสเซิลเข้าชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพกับลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ ซิตีในปี 1974 และ 1976 ตามลำดับ แต่พลพรรคแม็กพายส์กลับล้มเหลวในรอบชิงทั้งสองครั้ง

          ในช่วงต้นทศวรรษ 1980s นิวคาสเซิลอยู่ในช่วงตกต่ำ โดยได้ตกชั้นลงไปเล่นอยู่ในดิวิชัน 2 อยู่เป็นเวลาหลายปี ก่อนที่ผู้จัดการทีมอาร์เธอร์ ค็อกซ์จะสร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยมีเควิน คีแกน อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษเป็นแกนหลัก จนกระทั่งได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุด

          หลังจากนั้น นิวคาสเซิลเล่นอยู่ในดิวิชัน 1 จนกระทั่งพวกเขาตกชั้นอีกครั้งในปี 1989

          ในปี 1992 เควิน คีแกนได้กลับคืนสู่นิวคาสเซิลอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อเขาตอบรับสัญญาระยะสั้น เข้ามาคุมทีมแทนออสซี อาร์ดิเลส ตัวคีแกนเองนั้นกล่าวว่า งานคุมทีมนิวคาสเซิลเป็นงานเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้เขาหวนคืนสู่วงการฟุตบอลได้ ในขณะนั้น นิวคาสเซิลกำลังดิ้นรนหนีการตกชั้นอยู่ในดิวิชัน 2 ถึงแม้ว่าจะเพิ่งถูกซื้อกิจการโดยเซอร์ จอห์น ฮอลล์ไปไม่นานก็ตาม

          ในฤดูกาลนั้น นิวคาสเซิลสามารถหนีรอดพ้นการตกชั้นไปได้ โดยเปิดบ้านเอาชนะปอร์ทสมัธก่อนจะบุกไปเอาชนะเลสเตอร์ ซิตีในสองเกมสุดท้ายของฤดูกาล

          ในฤดูกาลถัดมา (1992-93) ฟอร์มของนิวคาสเซิลเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเขาเล่นฟุตบอลเกมรุกแบบตื่นตาตื่นใจ จนกระทั่งคว้าชัยชนะในเกมลีก 11 นัดแรก ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์ดิวิชัน 1 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกด้วยชัยชนะเหนือกริมสบี ทาวน์ 2-0

          นิวคาสเซิลประสบความสำเร็จในระดับสูงสุดภายใต้การคุมทีมของคีแกน พวกเขาจบฤดูกาล 1993-94 ที่อันดับ 3 และได้รับการตั้งฉายาโดยสื่อมวลชนอังกฤษว่าเป็น "The Entertainers"

          ในปีถัดมา นิวคาสเซิลจบฤดูกาลที่อันดับ 6 หลังจากที่ช็อกแฟนบอลด้วยการขายกองหน้าจอมถล่มประตู แอนดี โคล ให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 6 ล้านปอนด์บวกกับคีธ กิลเลสพี ปีกขวาดาวรุ่งชาวไอริช

          ในปี 1995-96 นิวคาสเซิลเสริมทีมครั้งใหญ่ โดยดึงตัวผู้เล่นชื่อดังเช่นดาวิด ชิโนลาและเลส เฟอร์ดินานด์มาร่วมทีม พวกเขาเกือบที่จะคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ แต่ก็ทำได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์ ทั้งที่ในช่วงคริสต์มาส พวกเขาทิ้งห่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดถึง 12 คะแนน เกมที่นิวคาสเซิลพ่ายให้กับลิเวอร์พูลไป 3-4 ที่สนามแอนฟิลด์ในฤดูกาลนี้ ได้รับการโหวตให้เป็นเกมยอดเยี่ยมตลอดกาลของพรีเมียร์ลีกเลยทีเดียว

          นิวคาสเซิลเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 อีกครั้งในปีถัดมา แม้ว่าจะทำการเซ็นสัญญากองหน้าทีมชาติอังกฤษ อลัน เชียเรอร์ มาร่วมทีมด้วยค่าตัวสถิติโลก 15 ล้านปอนด์ สำหรับฤดูกาล 1996-97 นี้ เป็นที่จดจำของแฟนบอลหลายคน เนื่องจากนิวคาสเซิลได้ถล่มเอาชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไปด้วยสกอร์ถึง 5-0 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1996

          คีแกนลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในเดือนมกราคม ปี 1997 และถูกแทนที่โดยเคนนี ดัลกลิช ซึ่งได้รับเลือกเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาเกมรับของทีม ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังของปี 1997-98 ดัลกลิชพานิวคาสเซิลเข้าไปเล่นฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และพ่ายต่ออาร์เซนอลในรอบชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพไป 0-2 หลังจากนั้น แฟนบอลก็เริ่มที่จะไม่พอใจกับสไตล์การทำทีมที่เน้นเกมรับของดัลกลิช เมื่อบวกกับผลงานที่ตกต่ำลงของทีม เป็นผลให้ดัลกลิชถูกปลดออกจากตำแหน่งในช่วงต้นฤดูกาล 1998-99

          รุด กุลลิทก้าวเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมต่อจากดัลกลิช และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง ก่อนจะพ่ายให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไปในที่สุด แต่กุลลิทได้ทำการซื้อตัวผู้เล่นราคาแพงหลายคนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในพรีเมียร์ลีก เช่นมาร์เซลิโน กองหลังชาวสเปน และซิลวิโอ มาริช มิดฟิลด์โครเอเชีย นอกจากนี้กุลลิทยังมีปากเสียงกับผู้เล่นคนสำคัญหลายคนในทีม ทั้งหมดนี้ประกอบกับการเริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ได้อย่างเลวร้าย ทำให้กุลลิทถูกกดดันให้ลาออกไป

          นิวคาสเซิลตัดสินใจแต่งตั้งเซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน อดีตผู้จัดการทีมชาติอังกฤษชาวจอร์ดี เข้ามากู้สถานการณ์ของทีม ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในโซนตกชั้น เกมเหย้าเกมแรกของนิวคาสเซิลภายใต้ร็อบสันจบลงด้วยชัยชนะ 8-0 เหนือเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ พร้อมทั้ง 5 ประตูจากกัปตันทีมอลัน เชียเรอร์ ในช่วงที่ร็อบสันคุมทีม นิวคาสเซิลได้สร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยอาศัยนักเตะดาวรุ่งเป็นแกนหลัก ผู้เล่นอย่างคีรอน ดายเออร์, เคร็ก เบลลามี่ และโลรองต์ โรแบร์ ทำให้นิวคาสเซิลกลับมาเป็นทีมระดับหัวแถวของพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง ฟุตบอลเกมรุกอันน่าตื่นเต้นของพวกเขาทำให้นิวคาสเซิลทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในฤดูกาล 2001-02 จนได้กลับเข้าไปเล่นในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และได้เข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้ายของถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพ

          ในฤดูกาล 2002-03 นิวคาสเซิลได้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นทีมแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่แพ้ในรอบแบ่งกลุ่ม 3 เกมแรกแล้วยังสามารถผ่านเข้ารอบต่อไปได้ ก่อนจะตกรอบแบ่งกลุ่มรอบสอง หลังจากถูกจับฉลากแบ่งสายไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับทีมยักษ์ใหญ่อย่างบาร์เซโลนาและอินเตอร์ มิลาน ส่วนผลงานในพรีเมียร์ลีกนั้น นิวคาสเซิลก็ยังคงทำได้ดีอย่างสม่ำเสมอ จนจบฤดูกาลในอันดับที่ 3

          ต่อมาในฤดูกาล 2003-04 นิวคาสเซิลตกรอบคัดเลือกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหลังพ่ายในการดวลจุดโทษให้กับพาร์ทิซาน เบลเกรด จนต้องตกลงไปเล่นในถ้วยยูฟ่าคัพแทน นิวคาสเซิลจบฤดูกาลในอันดับที่ 5 และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศถ้วยยูฟ่าคัพ ในฤดูกาล 2007-2008 นิวคาสเซิ่ลได้แต่งตั้งแซม อัลลาไดซ์ เป็นผู้จัดการทีมและได้มีการซื้อนักแตะเสริมทัพหลายคนเช่น เฌเรมี่,อลัน สมิธ จากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว 6 ล้านปอนด์,ดาวิด โรเซนนาล,เคลาดิโอ คาซาป้า,โจอี้ บาร์ตัน เป็นต้นแต่นักเตะที่ซื้อมากับทำผลงานได้ย่ำแย่และทำให้ทีมฟอร์มตกจนไปอยู่ท้ายตารางรวมถึงในเกมส์ในบ้านที่แพ้ลิเวอร์พูล 3-0 ชนิดว่าไม่มีลุ้นทำให้มีเสียงโห่จากแฟนนิวคาสเซิ่ลจำนวนมากในเซนต์ เจมส์ พาร์คก่อนที่แซมจะโดนปลดออกและแทนที่ด้วยเควิน คีแกนทำให้สร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเตะและแฟนบอลจนผลงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 12

          นัดสุดท้ายของฤดูกาล 2008-09 นิวคาสเซิลบุกไปแพ้แอสตันวิลลา 1-0 ที่วิลลาพาร์ค ทำให้ทีมต้องตกชั้นสู่ ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ ด้วยอันดับ 18 ของตาราง หลังจากตกชั้นได้ไม่นานอลัน เชียเรอร์ ก็หมดสัญญาคุมทีม โดยมีคริส ฮิวจ์ตัน ทำหน้าที่รักษาการแทน หลังจากนั้นทีมต้องเสียนักเตะอย่าง ไมเคิล โอเว่น, มาร์ค วิดูก้า, ดาวิด เอ็ดการ์, โอบาเฟมี มาร์ตินส์,เชย์ กิฟเว่น,เซบาสเตียน บาสซง,เดเมี่ยน ดัฟ และฮาบิบ เบย์ ออกไปเริ่มระส่ำระส่ายมากขึ้นแต่ก่อนเปิดฤดูกาลใหม่นิวคาสเซิ่ลสามารถคว้านักเตะเสริมทัพได้โดยเป็นแดนนี่ ซิมป์สัน มาจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดในสัญญายืมตัว ยืมมาร์ลอน แฮร์วู้ดมาจากแอสตัน วิลล่าและเซ็นสัญญาคว้าตัวปีเตอร์ โลเวนครานด์กับฟาบริซ ป็องครัตมาแบบไร้ค่าตัว โดยผลงานของนิวคาสเซิ่ลในนัดเปิดฤดูกาล 2009/2010 สามารถบุกไปเสมอเวสบรอมวิช อัลเบี้ยน ได้ 1-1 หลังจากนั้นไม่นานนิวคาสเซิ่ลก็มีข่าวว่าเควิน คีแกนอดีตผู้จัดการทีมและขวัญใจแฟนนิวคาสเซิ่ลได้เรียกร้องเงินชดเชยที่ได้ระบุในสัญญาคุมทีม 3ปีก่อนคีแกนจะลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากโดนแทรกแซงเรื่องการบริหารก่อนที่ศาลตัดสินให้นิวคาสเซิ่ลจ่ายเงินชดเชยจำนวน 2ล้านปอนด์หรือ112ล้านบาทโดยในเหตุการ์ณครั้งนั้นคีแกนไม่พอใจที่โดนเดนนิส ไวส์ ผู้อำนวยการแทรกแซงเรื่องการซื้อขายนักเตะโดยคีแกนไม่พอใจที่ขายเจมส์ มิลเนอร์ กองกลางทีมชาติอังกฤษของทีมให้แอสตัน วิลล่ารวมถึงการซื้อซิสโก้ กองหน้าชาวสเปนและอิ๊กนาซิโอ กอนซาเลซ นักเตะชาวอุรุกวัยโดยไม่ผ่านการตัดสินใจของคีแกน พร้อมกับทางสโมสรพยายามปล่อยตัวโจอี้ บาร์ตัน กองกลางที่พึ่งพ้นโทษออกจากคุกมาโดยที่ขัดแย้งกับคีแกนซึ่งพยายามรั้งตัวไว้หลังจากนั้นนิวคาสเซิลสามารถทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องจนสามารถคว้าแชมป์ เดอะแชมเปี่ยนชิพมาครองได้สำเร็จและส่วนหนึ่งมาจากแอนดี้ แคร์โรล เด็กปั้นของสโมสรซึ่งทำไป 19 ประตู เป็นดาวยิงสูงสุดของสโมสร


เกียรติประวัติ

(ฟุตบอลลีก)
ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง แชมป์ : 4
1904/05, 1906/07, 1908/09, 1926/27

เอฟเอพรีเมียร์ลีก รองแชมป์ : 2
1995/96, 1996/97

ฟุตบอลลีกดิวิชันสอง แชมป์ : 3
1964/65, 1983/84, 1992/93

ฟุตบอลลีกดิวิชันสอง รองแชมป์ : 2
1897/98, 1947/48

นอร์เทิร์นลีก แชมป์ : 3
1902/03, 1903/04, 1904/05

(ฟุตบอลถ้วยภายในประเทศ)
เอฟเอคัพ ชนะเลิศ : 6
1910, 1924, 1932, 1951, 1952, 1955

เอฟเอคัพ รองชนะเลิศ : 7
1905, 1906, 1908, 1911, 1974, 1998, 1999

ลีกคัพ รองชนะเลิศ : 1
1976

คอมมูนิตี้ชิลด์ ชนะเลิศ : 1
1909

คอมมูนิตี้ชิลด์ รองชนะเลิศ : 5
1932, 1951, 1952, 1955, 1996

เอฟเอยูธคัพ ชนะเลิศ : 2
1962, 1985

(ฟุตบอลถ้วยยุโรป)
อินเตอร์ซิตีแฟร์สคัพ ชนะเลิศ : 1
1969

ยูฟ่าอินเตอร์โตโต้คัพ ชนะเลิศ : 1
2006

ยูฟ่าอินเตอร์โตโต้คัพ รองชนะเลิศ : 1
2001

Anglo-Italian Cup ชนะเลิศ : 1
1973

(ฟุตบอลถ้วยอื่น)
คีรินคัพ ชนะเลิศ : 1
1983

เท็กเซโกคัพ ชนะเลิศ : 2
1974, 1975

Sheriff of London Charity Shield ชนะเลิศ : 1
1907

พรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี่ ชนะเลิศ : 1
2003


Credit : th.wikipedia.org

สโต๊ค ซิตี้



ชื่อเต็ม : Stoke City Football Club
ฉายา : The Potters
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1863
สนาม : The Britannia Stadium ( ความจุ 28,376 ที่นั่ง )
ที่อยู่ : เมืองสแตฟฟอร์ดเชียร์
ผู้จัดการทีม : โทนี่ พูลิส

ซันเดอร์แลนด์



ชื่อเต็ม : Sunderland Football Club
ฉายา : The Black Cats ( แมวดำ )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1879
สนาม : สเตเดียม ออฟ ไลท์ ( ความจุ 49,000 คน )
ที่ตั้ง : เมืองไทน์
ประธานสโมสร : ไนออล ควินน์
ผู้จัดการทีม : สตีฟ บรูซ



          สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ มีสนามเหย้าชื่อสเตเดียมออฟไลท์ ตั้งอยู่ในเมืองซันเดอร์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ เป็นทีมที่เล่นในพรีเมียร์ลีก
เริ่มใช้งานสนามสเตเดียมออฟไลท์ตั้งแต่ปี 1997 หลังจากใช้งานสนาม Roker Park มากกว่า 99 ปี ซันเดอร์แลนด์เคยเป็นแชมป์ลีกสูงสุด 6 ครั้ง ในปี 1892, 1893, 1895, 1902, 1913 และ 1936 เข้าร่วมกับลีกอังกฤษตั้งแต่ปี 1890 โดยซันเดอร์แลนด์เล่นอยู่ในลีกสูงสุดเรื่อยมาจนถึงปี 1958 เคยชนะเลิศเอฟเอคัพ 2 ครั้ง ในปี 1937 ชนะ เปรสตัน นอร์ธ เอนด์ 3-1 และในปี 1973 ชนะ ลีดส์ ยูไนเต็ด 1-0
ฤดูกาล 2006-2007 ชนะเลิศฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ ทำให้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลปัจจุบัน (2007-2008) มีประธานสโมสรคือไนออล ควินน์ และมี รอย คีน เป็นผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน


ประวัติสโมสร

          สโมสรซันเดอร์แลนด์ (Sunderland A.F.C.) ก่อตั้งขึ้นในปี 1879 ภายใต้ชื่อเดิม Sunderland & District Teachers Association และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sunderland Association Football Club และได้เริ่มรับนักเตะเข้ามาร่วมทีมและเข้าร่วมฟุตบอลลีกอาชีพในปี 1890

          ในช่วงแรกระหว่างปี 1886-1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับสโมสรนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ต่อมาในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ย้ายมาใช้สนามโรเกอร์พาร์ค เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่

          ปี 1913 ซันเดอร์แลนด์พ่ายให้กับทีมแอสตันวิลลา ในเกมนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ

          หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ทีมซันเดอร์แลนด์ก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนในปี 1958 ทีมซันเดอร์แลนด์ตกชั้นไปเล่นลีกดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก

          จนถึงปี 1987 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ย่ำแย่ทำให้ตกลงไปเล่นในระดับดิวิชั้น 3 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมาภายใต้การทำทีมของ Dennis Smith ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นและเป็นแชมป์ในปี 1988 และหลังจากนั้น 2 ปีสามารถทำผลงานได้ถึงรอบเพลย์ออฟ (playoff) แต่ต้องพ่ายให้กับสวินดอน หลังจากพ่ายแพ้ทำให้ยังคงต้องเล่นอยู่ในระดับดิวิชั้น 2 ในฤดูกาล 1991-1992 ทีมสามารถเข้าใกล้พื้นที่เพลย์ออฟแต่ทำไม่สำเร็จ ได้เพียงเข้าชิงเอฟเอคัพ และพ่ายให้กับลิเวอร์พูลในที่สุด

          Dennis Smith ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมโดยมี Malcolm Crosby ทำหน้าที่แทน(เพียงหนึ่งปี) และ เทอร์รี่ บุทเชอร์ ก็เข้ามาเป็นผู้จัดการในระยะสั้น และได้เปลี่ยนเป็น Mick Buxton

          ในปี 1995 ซันเดอร์แลนด์ก็ได้ใช้บริการผู้จัดการทีมคนใหม่ ปีเตอร์ รีด เพียงแค่ฤดูการแรก ปีเตอร์ รีด ก็สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการพาทีมขึ้นสู่ระดับพรีเมียร์ลีก หลังจากต้องพยายามอยู่กว่า 5 ปี แต่เนื่องจากทำผลงานได้ไม่ดีนักทำให้ต้องกลับไปเล่นในระดับดิวิชั่น 1 เมื่อจบฤดูกาล และในปีเดียวกันนั้น ทีมซันเดอร์แลนด์ต้องย้ายจากสนาม Roker Park ที่เคยใช้งานมากว่า 99 ปี มายังสนามแห่งใหม่ที่มีความจุมากที่สุดแห่งหนึ่งในรอบ 70 ปีของสนามกีฬาในอังกฤษ ด้วยจำนวนที่นั่งผู้ชม 42,000 คน และได้ขยายมาเป็น 49,000 คน

          ซันเดอร์แลนด์กลับสู่ระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้งในปี 2000-2001 ด้วยฤดูกาลที่ไม่ยากเย็นนัก ปี 1998-1999 ทำคะแนนได้สูงถึง 105 คะแนน ในอีก 2 ปีต่อมา 2001-2002 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ดีอยู่อันดับ 7 ในระดับพรีเมียร์ลีก แต่ทว่ายังพลาดโอกาสที่จะไปเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรป ในปีต่อมา 2002-2003 ผลงานกลับทำผลงานได้ย่ำแย่อีกครั้ง เมื่อชนะเพียง 4 เกม ยิงได้ 21 ประตู เก็บได้แค่ 19 คะแนนเท่านั้น เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ซันเดอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะหนี้สินท้วมสโมสร มากกว่า 20 ล้านปอนด์ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะที่ดีที่สุดไปเพื่อพยุงสถานการณ์ของสโมสร

          ในฤดูกาล 2004-2005 ซันเดอร์แลนด์จบอย่างสวยหรู โดยการทำทีมของ มิค แมคคาร์ธธี โดยเป็นแชมป์ของลีก Coca-Cola Championship และได้กับมาเล่นในระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้ง (ครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปี) อย่างไรก็ตามหลังจากจบซีซัน 2005-2006 ซันเดอร์แลนด์เก็บได้เพียง 15 คะแนน เป็นประวัติการได้คะแนนน้อยที่สุดของสโมสร ทำให้ แมคคาร์ธธี ต้องออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงกลางฤดูกาล โดยมีรักษาการผู้จัดการทีมคือ Kevin Ball

          หลังจากนั้นความหวังของทีมซันเดอร์แลนด์ก็กลับมาอีกครั้งในปี 2006 ด้วยการเข้าซื้อกิจการของไนออล ควินน์ อดีตนักเตะของซันเดอร์แลนด์ ร่วมกับ Irish Drumaville Consortium ทำการซื้อหุ้นจากประธานสโมสรคนก่อน Bob Murray และการเข้ามาคุมทีมของรอย คีน อดีตกัปตันแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นอดีตทีมชาติไอร์แลนด์เหมือนประธานสโมสร

          หลังจากการเข้ามาของประธานสโมสร และผู้จัดการทีมคนใหม่ ซันเดอร์แลนด์สร้างสถิติไม่แพ้ใคร 17 นัดติดต่อกันในฤดูกาล 2006-2007 ในช่วงต้นปี 2007 เก็บคะแนนได้เป็นกอบเป็นกำ ขยับจากตำแหน่งบ๊วยของตารางขึ้นมาเป็นจ่าฝูง และทำให้ซันเดอร์แลนด์เลื่อนชั้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกในฐานะ ทีมชนะเลิศ พร้อมกับ เบอร์มิงแฮม ซิตี้(อันดับ 2) และทีมดาร์บีเคาน์ตี (เพลย์ออฟ)

          ในนัดเปิดสนามฤดูกาล 2007-2008 ซันเดอร์แลนด์ชนะทอตแนมฮ็อตสเปอร์ ด้วยสกอร์ 1-0 โดยการทำประตูของ ไมเคิล โชปราในช่วงทดเวลาเจ็บ และนัดที่สองเสมอกับทีมน้องใหม่เหมือนกันคือ Birmingham City 2-2 โดย ไมเคิล โชปรา และ สเติร์น จอห์น ช่วยกันทำประตู

          ในฤดูกาล 2008/2009 ซันเดอร์แลนด์ เล่นนัดเปิดสนาม แพ้ ลิเวอร์พูล 0-1 หลังจากนั้นไม่กี่เดือน รอย คีน ก็ลาออกจากตำแหน่ง เพราะผลงานทีมย่ำแย่และเป็นริคกี้ สบราเกีย ผู้ช่วยเขาเข้ามาคุมทีมชั่วคราวแต่เพียงสองนัดผลงานทีมดูดีขึ้นด้วยการถล่มเวสบรอมวิชและฮัลส์ ซิตี้ทำให้ได้คุมทีมถาวรพอหลังจากนั้นผลงานทีมก็แย่ลง ทั้งที่มีนักเตะอย่าง ฌิบริล ซิสเซ่ อดีตหัวหอกลิเวอร์พูล เคนวิน โจนส์ หัวหอกดาวซัลโวปีที่แล้ว รวมถึง คีแรน ริชาร์ดสันด้วย จนเมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับ16 ริคกี้ สบารเกีย ก็ออกจากตำแหน่งโดยคนที่มาแทนที่คือ สตีฟ บรูซ และ ได้ดึงนักเตะอย่าง ดาร์เรน เบนท์,เฟรเซอร์ แคมป์เบลล์ หัวหอกดาวรุ่งจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด รวมถึง เปาโล ดาซิลวา ปราการหลังทีมชาติอุรุกวัย การเสริมทัพนับว่าน่าสนใจและน่าจะทำให้ทีมมีอนาคตที่ดีขึ้น และในช่วงต้นฤดูกาลในเกมส์พบลิเวอร์พูลเกิดเหตุการ์ณที่สร้างความฮือฮาไปทั่ววงการเมื่อดาร์เรน เบนท์ กองหน้าซันเดอร์แลนด์ยิงไปโดนลูกบอลชายหาดที่แฟนเชียร์ขว้างลงมาในสนามทำให้บอลเปลี่ยนทางเข้าประตูไปโดยเกมส์นี้ซันเดอร์แลนด์ชนะไป1-0และยังสามารถเอาชนะอาร์เซนอลด้วยสกอร์1-0ก่อนที่ช่วงท้ายฤดูกาลซันเดอร์แลนด์ฟอร์มตกจนหมดโอกาสที่จะลุ้นไปเล่นฟุตบอลยุโรป


เกียรติประวัติ

แชมป์ดิวิชั้น 1 (เดิม) : 6 ครั้ง
1891/1892, 1892/1893, 1894/1895, 1901/1902, 1912/1913, 1935/1936

รองแชมป์ดิวิชั้น 1 (เดิม) : 5 ครั้ง
1893/1894, 1897/1898, 1900/1901, 1922/1923, 1934/1935

แชมป์ฟุตบอลลีก (ลีกแชมเปี้ยนชิพในปัจจุบัน) : 2 ครั้ง
2004/2005, 2006/2007

แชมป์ดิวิชั้น 1 (ใหม่) : 2 ครั้ง
1995/1996, 1998/1999

แชมป์ดิวิชั้น 2 (เดิม) : 1 ครั้ง
1975/1976

รองแชมป์ดิวิชั้น 2 (เดิม) : 1 ครั้ง
1963/1964

แชมป์ดิวิชั้น 3 (เดิม) : 1 ครั้ง
1987/1988

แชมป์เอฟเอคัพ : 2 ครั้ง
1936/1937, 1972/1973

รองแชมป์เอฟเอคัพ : 3 ครั้ง
1912/1913, 1941/1942, 1991/1992

รองแชมป์ลีกคัพ : 1 ครั้ง
1984/1985

แชมป์ Charity Shield : 1 ครั้ง
1936/1937

รองแชมป์ Charity Shield : 1 ครั้ง
1937/1938


Credit : th.wikipedia.org